แฟชั่น บิ๊กอาย

บิ๊กอาย กับ แฟชั่นในปัจจุบัน

เลนส์ตาโต เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดตาโต หรือที่วัยรุ่นเรียกกันว่า “บิ๊กอาย”จะเหมือนกับคอนแทคเลนส์แฟชั่นสมัยก่อนที่มีสีสันให้เลือกมากมาย แต่ที่แตกต่างคือ เลนส์สีบริเวณตรงกลางดวงตาจะเป็นเลนส์ใสปกติแต่บริเวณขอบเลนส์จะมีสีดำ ทำให้ขอบตาคุณดูชัดมากขึ้น มีราคาตั้งแต่ 450 – 2,000 บาท

ใส่บิ๊กอายตาติดเชื้อ

บิ๊กอายทำตาบอด ติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์เตือนวัยโจ๋

แพทย์เตือนอันตรายจากคอนแทกท์เลนส์ "บิ๊กอาย" หลังมีผู้ป่วยติดเชื้อสูโดโมแนสที่ตา ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาตัวแล้ว 4 ราย จักษุแพทย์ ระบุ เป็นแบคทีเรียร้ายแรงลามกินตาดำได้ภายใน 2 วัน รักษาไม่ทันถึงขั้นตาบอด ผู้ป่วยรับหาซื้อง่ายแม้กระทั่งตามตลาดนัด จี้ภาครัฐออกมาเข้มงวด เพราะจัดอยู่ในกลุ่ม เครื่องมือแพทย์ ต้องได้รับอนุญาตจาก อย.

เลดี้ กาก้า Lady Gaga ใส่บิ๊กอาย

เลดี้กาก้า นำเทรนบิ๊กอาย อเมริกาเตือน Big Eye เป็นอันตราย ผิดกฏหมายในอเมริกา

นับตั้งแต่กระแสความโด่งดังของ Music Video "Bad Romance" ของนักร้องสาวชาวอังกฤษ Lady Gaga ทำให้วัยรุ่นอเมริกันเริ่มนิยมใส่ Contact Lenses ที่เรียกว่า "Big Eye" กันเป็นจำนวนมาก จนหลายฝ่ายต้องออกมาเตือนในการใช้และการเลือกซื้อ เพราะวัยรุ่นจำนวนมากนิยมสั่งซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต จากร้านค้าออนไลน์ในแถบเอเชีย...

บิ๊กอาย คอนแทคเลนส์ปลอม

อันตรายจากการใช้คอนแทคเลนส์แฟชั่น "บิ๊กอาย"

กระแสคอนแทคเลนส์แฟชั่นได้แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณต้นปี 2549 ที่ผ่านมา โดยวัยรุ่นไทยนิยมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพื่อให้ตา กลมโตเลียนแบบดาราเกาหลี และญี่ปุ่น คอนแทคเลนส์แฟชั่นดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีในนาม บิ๊กอายส์ หรือ คอนแทคเลนส์ตาโต ราคาก็มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน ระยะเวลาการใช้งานก็มีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ 1 เดือนไปจนถึง 1 ปี

29 พ.ค. 2553

ภาวะการแพ้ Contact Lens (GPC)

ภาวะ การแพ้ Contact Lens มีชื่อทางการแพทย์ว่าโรค GPC ย่อมาจาก Giant Papillary Conjunctivitis ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับดวงตา พบในผู้ที่ใส่ Contact Lens ชนิดถาวร หรือเลนส์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 30 วัน (Permanent lenses) โดยอาการแพ้ดังกล่าวเกิดจากคอนแทคเลนส์สกปรก มีคราบโปรตีนที่ล้างไม่หมดเกาะอยู่ คราบโปรตีนเหล่านั้นเป็นส่วนประกอบของน้ำตาธรรมชาติ ที่เมื่อสะสมรวมกับสารภายนอก เช่น ฝุ่นละออง เครื่องสำอาง จะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาขึ้นได้

ผู้ที่เป็นโรค GPC จะมีอาการคันตา ระคายเคือง มีขี้ตาเป็นเมือกขาว ตาแดงเรื่อๆ และไม่สบายตาเท่ากับช่วงที่ใส่คอนแทคเลนส์ใหม่ๆ นอกจากนี้บางครั้งคอนแทคเลนส์อาจเลื่อนหลุดได้ง่ายอีกด้วย เมื่อจักษุแพทย์ทำการตรวจดวงตาของผู้ที่เป็น GPC ด้วยกล้องขยายพิเศษสำหรับตรวจตา (Slit lamp) จะพบมีเม็ดเล็กๆ (Papilla) ที่เยื่อบุตาบริเวณด้านในของเปลือกตา ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเกิดภูมิแพ้ที่ดวงตา
อาการแพ้ในโรค GPC อาจรักษาให้หายได้โดยการพบจักษุแพทย์ แพทย์จะแนะนำให้หยุดใส่คอนแทคเลนส์ไว้ชั่วคราวก่อน และให้ยาแก้แพ้มาหยอดตา แต่เมื่อกลับมาใส่คอนแทคเลนส์อีกก็อาจกลับเป็นขึ้นมาใหม่ได้เรื่อยๆ ถ้าคุณยังปฏิบัติตัวเหมือนเดิม ดังนั้นคุณจึงควรแก้ไขที่สาเหตุ คือ กำจัดความสกปรกของ Contact Lens อย่างสม่ำเสมอให้ถูกต้อง โดยการชะล้างคราบโปรตีน ไขมัน และฝุ่นละอองต่างๆ ที่เกาะอยู่ออกให้หมด หรือเปลี่ยนไปใช้คอนแทคเลนส์ชนิดเปลี่ยนทุก 2-4 สัปดาห์ (Disposable lenses)

สารทำความสะอาดที่มีอยู่ในน้ำยา อเนกประสงค์ทุกชนิดที่มีขายในท้องตลาด สามารถทำความสะอาดคราบไขมัน เยื่อเมือก และโปรตีนได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ในการขจัดคราบโปรตีนสะสมจำเป็นต้องใช้เอ็นไซม์โปรตีเนส (Proteinase) ในการย่อยสลายโปรตีน จึงจะสามารถขจัดคราบโปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ โดยตัวเอนไซม์เองจะเป็นชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อเยื่อบุตา

ในน้ำยาทำความสะอาด Contact Lens แบบ อเนกประสงค์ทุกชนิดที่มีขายในท้องตลาดนั้น ไม่มีส่วนประกอบของเอ็นไซม์โปรตีเนส เพื่อใช้ในการย่อยสลายคราบโปรตีนสะสมดังกล่าว เนื่องจากเอ็นไซม์นี้จะไม่คงตัวในสารละลายที่มีปริมาตรมากๆ สารประกอบส่วนหลักๆ ในน้ำยาอเนกประสงค์ คือ

- สารฆ่าเชื้อโรค ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ดี บางชนิดสามารถฆ่าเชื้อรา และเชื้ออะแคนทามีบา (Acanthamoeba) ได้ด้วย
- สารทำความสะอาด ส่วนที่มีคุณสมบัติเป็นสบู่ ใช้ขจัดคราบไขมัน เยื่อเมือกได้ และอีกส่วนที่เป็นสารขจัดคราบโปรตีน ออกฤทธิ์ด้วยกลไกที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนิด แต่ไม่ใช่เอนไซม์โปรตีเนส

การใช้น้ำยาอเนกประสงค์เพียงขวด เดียว จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ใช้ Contact Lens แบบชั่วคราวไม่เกิน 30 วัน ถ้าใช้เลนส์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 30 วัน หรือเลนส์ถาวร การสะสมของสิ่งสกปรกบนผิว Contact Lens จะมากเกินกว่าที่จะสามารถขจัดออกได้ ด้วย สารขจัดคราบโปรตีนที่มีอยู่ในน้ำยาอเนกประสงค์ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องใช้เอ็นไซม์ร่วมด้วย ซึ่งอาจจะเป็นยาเม็ดเอ็นไซม์ละลายในน้ำยาล้างเลนส์ หรือเป็นเอ็นไซม์แบบน้ำยาสำเร็จรูปก็ได้ เพื่อให้ Contact Lens ของคุณสะอาด จะได้ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ Contact Lens


ข้อมูลจาก : http://www.freeforworld.com/index.php/33

[ข่าว] ภัยจากคอนแทคเลนส์ตาโต

ศ.พ.ญ.สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต
ระยะนี้มีข่าวจากสื่อต่างๆ ทั้งทีวีและหนังสือพิมพ์ฮือฮา ถึงการใส่ contact lens ทำให้ตาโตขึ้น คงเป็นที่สนใจของสาวๆ ตาตี่ๆ กันทั่วไป ก่อนจะไปใช้น่าจะมาเรียนรู้ถึงข้อควรปฏิบัติและโทษของมันดูบ้าง อย่ามุ่งมั่นเพื่อความสวยงาม โดยลืมนึกถึงความปลอดภัย

เลนส์สัมผัสหรือที่เรียกกันติดปากว่า Contact lens เป็นแผ่นพลาสติคใสๆ บางๆ ได้รับการหล่อหรือขัดเกลาให้เป็นแผ่นกลมรูปกะทะ โดยมีความโค้งใกล้เคียงกับความโค้งของตาดำของเรา ตัวเลนส์มีกำลังหักเหของแสงคล้ายๆ เลนส์ที่ใช้ในแว่นตาขนาดต่างๆ เพื่อแก้ไขสายตาที่ผิดปกติ ได้แก่ ตาสั้น ตายาว และตาเอียง เมื่อนำเลนส์สัมผัสมาใช้ โดยปะวางที่ตาดำอาศัยน้ำตาที่ฉาบบางๆ อยู่ผิวตาดำเป็นตัวยึดให้เลนส์ติดกับตาดำ โดยที่เลนส์ขยับเคลื่อนที่ได้เล็กน้อยเมื่อเรากลอกตาไปมา


ปัจจุบันการใช้เลนส์สัมผัสมีจุดประสงค์ 3 ประการ
  1. เพื่อแก้ไขสายตาที่ผิดปกติ ทดแทนแว่นสายตา กล่าวคือสามารถแก้ไข สายตาสั้น ตายาว ตาเอียง ตลอดจนสายตาผู้สูงอายุ โดยไม่ต้องใช้แว่นตา เป็นจุดประสงค์หลักที่ใช้กันมากที่สุด
  2. ใช้รักษาโรคกระจกตาบางชนิด เป็นการใช้ชั่วคราวเมื่อโรคกระจกตานั้นหายก็เลิกใช้
  3. ใช้เพื่อความสวยงาม เพื่อเปลี่ยนสีดวงตา หรือเพื่อปิดฝ้าขาวบริเวณตาดำ ในปัจจุบันนำมาใช้ให้ดวงตาดูโตขึ้นที่ฮือฮาเป็นข่าวอยู่นี้
Contact lens ที่ออกมาแต่เดิมเป็นเลนส์ใสไร้สี เพื่อจุดประสงค์ 2 ข้อแรก สำหรับ contact lens สี เพิ่งมีใช้
ในระยะสิบกว่าปีมานี้ เพื่อจุดประสงค์ในข้อ 3 และมีบ้างที่ contact lens สี ช่วยทั้งเปลี่ยนสีตาและแก้ไขสายตาที่ผิดปกติด้วย อาจแบ่ง contact lens สีออกเป็น 4 ชนิด
  1. Visibility colored contact lens เป็นสีอ่อนๆ ออกสีฟ้าหรือเขียวอ่อน เป็นอันแรกๆ ของเลนส์สัมผัสสี จุดประสงค์ให้ผู้ใช้มองเห็นได้ง่ายแต่เดิมผู้ใช้เลนส์สัมผัสไร้สีเมื่อถอดออกจากดวงตาแทบจะมองไม่เห็น อาจจะตกหล่นหรือหาย หรือแม้เมื่อถอดออกจากตาใส่ในตลับอาจวางเลนส์ที่ขอบตลับเมื่อปิดตลับ ทำให้เลนส์ฉีกขาดได้ ถ้าทำเป็นสีจางๆ จะช่วยให้ผู้ใช้มองเห็นเลนส์ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเลนส์สีชนิดนี้สีจางมากจึงไม่เปลี่ยนสีตาของผู้ใช้
  2. Enhance colored contact lens เป็นเม็ดสีที่ย้อมเข้าไปในเนื้อ contact lens ที่เข้มกว่าและเม็ดสี หนาแน่นกว่า จุดประสงค์เพื่อเปลี่ยนสีตาของผู้ใช้ โดยเม็ดสีจะอยู่ในเนื้อ contact lens รอบๆ เว้นตรงกลางให้แสงเข้าเพื่อให้มองเห็นได้ดี
  3. Opaque colored contact lens เป็นเม็ดสีที่เข้มขึ้นไปอีกอยู่ในเนื้อเลนส์ที่ลึกลงไป มีสีต่างๆ หลายสี ใช้ในการเปลี่ยนสีตา ถือเป็นเครื่องประดับบริเวณตา มักใช้ในนักแสดงที่แต่งตัวสีฉูดฉาดและต้องการให้ดวงตามีสีแปลกๆ ด้วย นอกจากนี้อาจย้อมเม็ดสีให้กินบริเวณรอบนอกของเลนส์ ทำให้เมื่อใช้เลนส์นี้ดูตาดำใหญ่ขึ้นอันเป็นที่มาของเลนส์ช่วยให้ตาโต
  4. Light – filtering contact lens เป็นพัฒนาการของ contact lens สีชนิดล่าสุดมักใช้ในกีฬา เป็นการ ทำเลนส์เป็นสีเพื่อกรองแสงบางสีออกไป เพิ่มความชัดของวัสดุที่จะมอง เช่น เพื่อให้สีของลูกเทนนิสหรือลูกกอล์ฟเด่นชัดขึ้น ตัวอย่างนักกอล์ฟใช้สีอำพันเพื่อตัดสีครามของท้องฟ้าไกลๆ ทำให้เห็นลูกกอล์ฟชัดขึ้น

ถ้าท่านตัดสินใจที่จะลองใช้ CL สี ควรปรึกษาจักษุแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญดูก่อนว่าดวงตาของท่า เหมาะสมหรือสมควรใช้หรือไม่ CL มิได้เหมาะสำหรับดวงตาทุกคู่ ผู้ที่ไม่เหมาะที่จะใช้ได้แก่
  1. ผู้ที่มีโรคผิวหนังบริเวณเปลือกตาแบบเรื้อรัง การที่เปลือกตาอักเสบทำให้ไม่สบายตา อีกทั้งมักมีสารที่ขับจากต่อมบริเวณเปลือกตาเปลี่ยนไป
  2. ผู้ที่ตาแห้ง
  3. มีกระจกตาผิดปกติ
  4. เป็นภูมิแพ้ เพราะผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ อาจจะเกิดการแพ้ต่อสารที่ทำเลนส์หรือแพ้น้ำยาที่ใช้กับเลนส์
  5. มีโรคเรื้อรังทางร่างกาย เช่น เบาหวานที่ควบคุมไม่ดี โรคของต่อมไทรอยด์ที่มีตาโปน เพราะผู้ป่วย ในกลุ่มนี้มักจะมีตาแห้งไม่ค่อยกระพริบตา
  6. ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต มีความกังวล ขี้ระแวง
  7. ผู้ป่วยที่มีโรคข้อมือ มีมือสั่นจากโรคทางสมอง เช่น โรค Parkinson ทำให้จับต้องเลนส์สัมผัสไม่ได้ดี
  8. หญิงตั้งครรภ์และสตรีวัยทอง
  9. ผู้ที่ใช้ยาประจำบางตัว เช่น ยารักษาโรคกระเพาะ ผู้รับประทานยาคุมกำเนิด ผู้ใช้ยากลุ่มคลายเครียดประจำ ฯลฯ

สำหรับ CL สีก็คงคล้าย CL ทั่วไปแต่เพิ่มเม็ดสี เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวคงตอบสนองความต้องการในแง่ความสวยงาม แต่มีข้อเสียมากกว่า CL ธรรมดาหลายประการอาทิ เช่น

  1. ราคาแพงกว่า
  2. ด้วยเหตุที่มีเม็ดสีเข้าไปอยู่ในเนื้อ CL บริเวณที่เป็นสี ออกซิเจนจะไม่ซึมผ่านเข้าไปเลี้ยงกระจกตา อีกทั้งเม็ดสีเป็นสิ่งแปลกปลอม อาจทำให้เกิดโทษจากการแพ้เม็ดสีในคนบางคนได้
  3. ด้วยเหตุที่มีเม็ดสีปนอยู่ในเนื้อเลนส์ ผิวอาจไม่เรียบเป็นเนื้อเดียวกัน เชื่อว่าอาจมีเมือก โปรตีนที่มีอยู่ ในน้ำตาเข้าไปฝังตัวทำให้เลนส์เสียเร็วขึ้น และเลนส์สีจะมีความหนากว่าเลนส์ปกติ ทำให้ออกซิเจนซึมผ่านจากอากาศ น้ำตาไปเลี้ยงกระจกตาน้อยลง
  4. โดยเฉพาะรายที่เป็นสีเข้มๆ เพราะต้องการเปลี่ยนสีตาทำให้การดูแลรักษายากกว่าเลนส์ทั่วไป กล่าว คือหากมีสิ่งสกปรก ปนเปื้อน เช่น มีกลุ่มเมือกปนเชื้อโรคติดอยู่ ซึ่งจะเห็นได้ง่ายในเลนส์ธรรมดา ทำให้ผู้ใช้สามารถเช็ดถูออก หรือถ้าไม่ออกก็เลิกใช้คู่นั้นเพื่อความปลอดภัย หากเป็น CL สี มองไม่เห็นใช้ต่อไปทำให้เกิดตาอักเสบในเวลาต่อมาได้
  5. ในกระบวนการทำ CL สี ต้องเว้นบริเวณตรงกลางที่ตรงกับรูม่านตา เพื่อให้ผู้ใช้แลเห็นวัตถุ การเว้นขนาดตรงกลางอาจจะใหญ่ไปหรือเล็กไป สำหรับบางคนเนื่องจากเวลากระพริบตาหรือกลอกตาไปมามีการขยับของ CL อาจทำให้บริเวณที่เป็นสีมาบังตาทำให้มัวลงได้ เนื่องจากการเว้นขนาดบริเวณตรงกลางทำเป็นขนาดแน่นอนทั้งหมด แต่ขนาดรูม่านตาและการขยับของ CL เวลากระพริบตาไม่เท่ากันทุกคน

เมื่อตัดสินใจจะใช้เลนส์สัมผัสคู่แรกควรได้รับการตรวจตาเสียก่อนว่าไม่มีข้อห้ามในการใช้และประกอบ
จากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น มิใช่ไปซื้อเอาตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อ และเมื่อได้เลนส์มาแล้วควรปฏิบัติตนดังนี้
  1. ไม่ว่าจะเป็นเลนส์ชนิดใด ล้วนต้องนำมาแปะไว้หน้าตาดำ ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมที่อาจก่อให้เกิด ปฏิกิริยาหรือการอักเสบได้ ความสะอาดจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเลนส์สกปรกมีเชื้อโรคก็เท่ากับนำเชื้อโรคไปใส่ในตา ซึ่งในบางครั้งอาจไม่เกิดโทษร้ายแรง แต่สักวันหนึ่งถ้ากระจกตามีรอยถลอก เชื้อโรคก็จะเข้าไปในเนื้อกระจกตาทำให้กระจกตาอักเสบและเกิดโรคร้ายแรงตามมา
  2. ใช้เลนส์ให้ทุกประเภท เลนส์ที่มีอายุ 2 สัปดาห์ก็ควรใช้แค่ 2 สัปดาห์ไม่ควรใช้เกินกว่านั้น แม้เลนส์ที่ระบุว่าใส่นอนได้ก็ไม่ควรใส่นอน
  3. แม้เลนส์รุ่นใหม่ๆ จะออกแบบให้ออกซิเจนซึมผ่านได้ดีตามที่มีโฆษณากันอยู่ ตาที่ใส่เลนส์สัมผัสอยู่ จะได้รับออกซิเจนน้อยลงเสมอ ถ้าใส่เลนส์ไม่นานเกินไปก็จะเป็นการขาดออกซิเจนของตาดำที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนัก จึงควรมีเวลาให้ตาได้พักหรือปลอดการใส่เลนส์ ขอแนะนำว่าแม้ท่านจะเลือกแก้ไขสายตาผิดปกติด้วยเลนส์สัมผัส ท่านก็ควรจะมีแว่นเป็นอะไหล่ไว้ใช้เวลาพักตาจากเลนส์สัมผัส
  4. ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ประกอบเลนส์อย่างเคร่งครัด
  5. การทำความสะอาดเลนส์ ต้องทำอย่างเคร่งครัดประกอบด้วยการทำความสะอาด ล้างฆ่าเชื้อและ การเก็บ (cleaning, rinsing, disinfecting and storage) หลีกเลี่ยงการใช้น้ำเกลือซึ่งเทถ่ายจากขวดใหญ่ โดยคิดว่าจะประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากกระบวนการถ่ายเทน้ำเกลือ อาจทำให้เชื้อโรคปนเปื้อนได้ น้ำยาที่แช่เลนส์ต้องเททิ้งทุกครั้ง
  6. หากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บตา ตาแดง ตาพร่ามัว ควรจะถอดเลนส์ออกและปรึกษาจักษุแพทย์
  7. พึงระลึกว่าการใช้เลนส์สัมผัสใช่ว่าจะปลอดภัย 100 % ขณะใส่เลนส์สัมผัสตาดำจะอยู่ในภาวะขาด ออกซิเจนบ้าง อาจมีโรคแทรกซ้อนหากใช้ไปนานๆ ผู้ใช้จึงควรรับการตรวจจากจักษุแพทย์เป็นระยะแม้ไม่มีอาการผิดปกติ
  8. ขอเตือนว่ามีผู้ใช้เลนส์สัมผัสไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดผลเสียหลายอย่าง เช่น เจ็บตา ตาแดง กระจก ตาเป็นแผล ซึ่งนอกจากทรมานจากการเจ็บปวด เสียเงิน เสียเวลาในการรักษา บางรายเป็นรุนแรงถึงขั้นสูญเสียสายตาเล็กน้อยไปจนถึงมากอย่างถาวร

16 พ.ค. 2553

วิธีการดูแลรักษาคอนแทคเลนส์



วิธีการดูแลรักษาคอนแทคเลนส์

สำหรับคนสายตาผิดปกติคงต้องขอบคุณผู้ผลิตคิดค้น คอนแทคเลนส์ เพราะนอกจากจะแก้ปัญหาสายตาให้มองเห็นได้ดีขึ้นแล้ว โดยเข้ามาแทนที่การใช้แว่นสายตาที่บางคนไม่ชอบเพราะบดบังความงามของตาคู่งาม หรือใบหน้าสวยของตัวเอง ใส่คอนแทคเลนส์ดูเป็นธรรมชาติกว่าเป็นไหนๆ แต่คงยังต้องยอมรับว่าแว่นสายตายังครองอันดับหนึ่ง ของอุปกรณ์แก้ปัญหาสายตาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอยู่

เลนส์สัมผัส หรือที่มักเรียกกันติดปากทับศัพท์ว่า คอนแทคเลนส์ นั้นเป็นแผ่นพลาสติกที่ได้รับการขัดเกลาหรือหล่อให้เป็นแผ่นกลมรูปร่าง คล้ายกระทะที่มีขนาดเหมาะสมกับตาดำ นำมาวางปะหน้าตาดำอาศัยน้ำตา ที่ฉาบอยู่บนผิวหน้าของตาดำเป็นตัวยึดเลนส์สัมผัสให้ติดกับดวงตา ด้วยเหตุที่คอนแทคเลนส์จะต้องสัมผัสกับตาดำเราตลอดเวลา การดูแลรักษาที่ดีนอกจากให้มองเห็นชัดเจนแล้ว ตัวคอนแทคเลนส์ก็จะมีอายุการใช้งานได้นานขึ้น และที่สำคัญผู้ใช้ปลอดภัยปราศจากการติดเชื้อ

โดยทั่วไปคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มจะดูดซับสิ่งสกปรกจากสิ่งแวดล้อม และสารต่างๆ ที่มีอยู่ในตา ได้แก่ น้ำเมือก น้ำมัน และโปรตีน ตลอดจนสารเคมีจากเครื่องสำอางเอาไว้ สิ่งสกปรกเหล่านี้จะสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คุณลักษณะที่ดีของคอนแทคเลนส์เปลี่ยนแปลงไป เช่น ความใสสะอาด ผิวเรียบ มีความโค้งสม่ำเสมอ ฯลฯ ซึ่งความโค้งที่เปลี่ยนไปอาจทำให้เลนส์ที่เคยใช้ได้พอดีกลับกลายเป็นคับหรือหลวมไป หรือใส่ไม่สบายก็ได้ คอนแทคเลนส์ที่เคยใสกลับหมองไปทำให้มองภาพไม่ชัด ผิวที่เคยเรียบบากเป็นรอย ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองทั้งหมดอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นเหนือสิ่งอื่นใดคุณควรคำนึงถึงสุขอนามัยของดวงตาเป็นอย่างแรก เพราะดวงตาถ้าเป็นอะไรไปแล้วก็ยากแก่การทดแทนใหม่ได้ จึงอย่าขี้เกียจที่จะทำความสะอาดคอนแทคเลนส์อย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นเรื่องจำเป็น เรามีวิธีการดูแลรักษาคอนแทกเลนส์มาฝากเป็นขั้นเป็นตอนให้คุณปฏิบัติได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น
  1. การล้างทำความสะอาด (cleaning) โดยใช้น้ำยาเพื่อทำความสะอาด ตัวน้ำยาประกอบด้วยสารซึ่งทำหน้าที่คล้ายผงซักฟอก โดยน้ำยานี้จะจับกับสิ่งสกปรกตลอดจนเชื้อโรคให้หลุดออกจากผิวคอนแทคเลนส์ เชื่อกันว่าวิธีนี้สามารถขจัดเชื้อโรคออกไปได้ถึง 90%
  2. การชะล้าง (rinsing) ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเกลือพิเศษที่มีสารกันเสียอยู่ด้วย หรือ ใช้น้ำยาดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ (ใช้น้ำเกลือทั่วๆ ไปแทนไม่ได้) เป็นการใช้น้ำยาเพื่อชะล้างสิ่งสกปรก
  3. การฆ่าเชื้อโรค (disinfecting) ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อโรคที่เหลืออยู่อีก 0.1% ขบวนการนี้อาจจะใช้ความร้อนหรือใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ การใช้ความร้อน ได้ผลดีกับเชื้อโรคทุกชนิดโดยเฉพาะเชื้อ HIV โดยใช้ความร้อน 80 องศาเซลเซียส เวลา 10 นาที โดยทั่วไปที่มีขายจะทำเป็นยูนิตสำเร็จรูปเสียบเข้ากับปลั๊กไฟฟ้า ใช้เวลาประมาณ 45นาที เครื่องจะดีดกลับเองเมื่อเสร็จสิ้นขบวนการ วิธีนี้สะดวกปลอดภัย แต่มีข้อเสียตรงที่คอนแทคเลนส์อาจจะเสียเร็ว และเปลี่ยนสีได้ ส่วนการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นวิธีที่สะดวก ใช้ง่าย เพียงแช่คอนแทคเลนส์ในน้ำยาตามเวลาที่กำหนด แต่มีข้อเสียคือราคาแพง บางคนอาจแพ้ทำให้เกิดอาการคันตา ตาแดง โดยเฉพาะผู้ที่ทำความสะอาดเลนส์ไม่ตามขั้นตอน เช่น ไม่ทำความสะอาดก่อน ซึ่งไม่ควรลืมว่าหลังแช่น้ำยาแล้วต้องเทน้ำยาที่ใช้แล้วทิ้งไปเสมออย่าเสียดาย ถ้าไม่เปลี่ยนน้ำยาในคราวต่อไป ก็มีโอกาสมากที่จะเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค ขบวนการ oxidative โดยใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ซึ่งมีความเข้มข้น 0.6% -3% ข้อดีของวิธีนี้คือ สารตัวนี้สามารถ ฆ่าเชื้อโรคได้มากตัว แต่มีข้อเสียคือราคาแพงและต้องล้างด้วยน้ำยาอีกชนิดหนึ่ง ถ้าล้างด้วยไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ออกไม่หมดจะมีจะมีอาการแสบและเคืองตามาก ขั้นตอนของการฆ่าเชื้อวิธีนี้จึงต้องมี 2 ขั้นซึ่งยุ่งยากมาก และห้ามนำมาใช้กับเลนส์เพราะความเข้มข้นไม่แน่นอน มีโลหะหนักบางชนิดเจือปน ใช้แล้วทำให้เลนส์เปลี่ยนสีได้
  4. การใช้ Enzyme หรือที่เรียกกันว่าน้ำยาล้างคราบโปรตีน* เป็นน้ำยาที่ช่วยขจัดคราบโปรตีนที่เกาะติดอยู่ในคอนแทคเลนส์ ควรทำความสะอาดสัปดาห์ละครั้ง ถือเป็นการขัดและทำความสะอาดใหญ่ มักจะทำเป็นรูปยาเม็ด ซึ่งต้องแช่ในน้ำเกลือ (ไม่ใช่น้ำกลั่น) หรือน้ำยาคอนแทคเลนส์ที่กำหนดไว้ หลังจากแช่แล้วควรล้างคอนแทคเลนส์อีกครั้งด้วยน้ำยาดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ สำหรับผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์บิ๊กอาย (Big Eye) ควรใช้น้ำยาล้างคราบโปรตีน 1-2 หยด ร่วมกับน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ของคุณ แช่เอาไว้ในตลับประมาณ 24 ชม. และนำออกมาล้างด้วยน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์อีกครั้ง ก่อนนำมาสวมใส่ ทำอย่างนี้เป็นประจำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง จะช่วยรักษาคอนแทคเลนส์ของคุณให้สวมใส่ได้สบายตา ปลอดภัย และยาวนานมากขึ้น หากดูแลอย่างถูกวิธี
  5. น้ำยาหล่อลื่น (lubricating and Rewetting) โดยปกติผู้ใช้คอนแทกเลนส์มักจะมีตาแห้งง่ายกว่าคนปกติ ทำให้มีอาการระคายเคือง น้ำยานี้จะช่วยให้ตาชุ่มชื้นยิ่งขึ้น ในปัจจุบันนี้มีน้ำยาบางชนิดทำมาเป็นแบบสำเร็จรูปทั้ง 5 ขบวนการแรกในน้ำยาตัวเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการใช้ แต่การดูแลคอนแทคเลนส์ ต้องทำตามลำดับขั้นให้ครบถ้วน คอนแทคเลนส์ก็จะอยู่ในสภาพสะอาด ปลอดภัย สำหรับผู้ใช้จะข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไม่ได้ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ใช้คอนแทคเลนส์ทุกวัน ควรเปลี่ยนน้ำยาทุกวันหรืออย่างน้อยต้องทำขบวนการฆ่าเชื้อ (ขบวนการที่ 3) ภายใน 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาใส่
  6. การดูแลตลับใส่เลนส์ มีผู้ใช้คอนแทกเลนส์จำนวนมากที่ป่วยเพราะเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในตลับใส่เลนส์ การดูแลตลับใส่เลนส์จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งควรล้างทุกวันด้วยน้ำยาที่ใช้ดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ให้สะอาด ปล่อยให้แห้ง ควรขัดตลับใส่คอนแทคเลนส์สัปดาห์ละครั้งด้วยน้ำยาที่ดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ ทิ้งไว้ให้แห้ง หรือเปลี่ยนตลับใหม่ทุกๆ 6 เดือน

ขอเตือนว่า ผลแทรกซ้อนจากการใช้คอนแทคเลนส์ บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียสายตาอย่างถาวรก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วอย่างคาดไม่ถึง โดยที่ส่วนใหญ่ต้นเหตุเกิดจากการละเลยที่จะดูแลคอนแทคเลนส์อย่างถูกต้อง จากนี้ไปเพื่อความปลอดภัยของดวงตาคุณเองควรเคร่งครัด กับการดูแลรักษาทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ตามขั้นตอนที่กล่าวมา แรก ๆ อาจรู้สึกยุ่งยากสักนิดแต่ถ้าคุณทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่นานก็จะชินถนอมทั้งดวงตาและคอนแทคเลนส์ให้ใช้ได้นาน ๆ ไงคะ

ที่มา : นิตยสาร Health Today


บทความที่เกี่ยวข้อง

14 พ.ค. 2553

ข้อเสีย - ข้อแนะนำในการใช้คอนแทคเลนส์

ข้อเสีย ของการใช้ คอนแทคเลนส์
  1. ใส่นานๆจะระคายเคืองกับดวงตา ทำให้ชอบเผลอ ขยี้ตา หลุดบ่อยมากตอนใส่แรกๆ
  2. ใส่แล้วดวงตา โดนลมนานๆก็ไม่ได้ ดวงตาจะแห้ง
  3. เปลืองถ้าเทียบกับแว่นในระยะยาว เพราะต้องมีน้ำยาล้างและอื่นๆอีกมาก

ต่อไปเป็นข้อแนะนำในการใช้คอนแทคเลนส์
  1. ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ในที่ๆมีลมแรงๆโดยไม่มีแว่นกันลม เพราะ ฝุ่นจะเข้าตา และทำให้ระคายเคือง
  2. ถ้ามีโอกาสถอดคอนแทคเลนส์บ่อยเท่าไร ยิ่งดี เพื่อให้ดวงตาได้พัก
  3. ไม่ควรใส่ทั้งวันและทั้งคืน หรือใส่นอน เพราะจะทำให้ดวงตาคุณแย่ลง เพราะเรื่องเชื้อโรค
  4. ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องเงินและต้องการรักษาสุขภาพดวงตา ควรซื้อแบบรายวัน เพื่อลดสิ่งสะสมของคอนแทคเลนส์ เช่นฝุ่น หรือพวกโปรตีน
  5. มั่นล้างทำความสะอาด คอนแทคเลนส์ของท่านอย่างสมำเสมอ บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้
  6. น้ำยายี้ห้อไหนที่ใช้แล้วรู้สึกระคายเคืองให้ทำการเปลี่ยนยี้ห้อทันที
  7. อย่าเผลอใส่คอนแทคเลนส์ลงว่ายน้ำโดยเด็ดขาด
  8. ถ้าคอนแทคเลนส์หลุด ห้ามใช้น้ำประปาในการใส่คอนแทคเลนส์โดยเด็ดขาด เพราะ เมื่อนำมาใส่จะทำให้ตาแสบตาได้

เคล็บไม่ลับสำหรับการดูแลคอนแทคเลนส์ที่รัก

การใช้คอนแทคเลนส์นั้น ไม่ได้ยากเย็นและอันตรายอย่างที่คิดกัน แต่ถ้าจะไม่พูดถึงการดูแลรักษาคอนแทคเลนส์บ้าง มันก็จะดูไม่สมบูรณ์อย่างไรไม่รู้ เพราะคอนแทคเลนส์นั้น ถึงแม้จะเป็นแบบรายเดือนคือมีอายุแค่ 30 วัน แล้วก็จะต้องทิ้งไป แต่การดูแล ก็เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้อย่างเด็ดขาดเลยจริง ๆ เนื่องจากอุปกรณ์ชิ้นนี้ ต้องสัมผัสกับอวัยวะ ที่สำคัญและบอบบางที่สุดของเรา ในการทำหน้าที่ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการมองเห็นได้แจ่มชัดขึ้น สำหรับสาวๆที่มีปัญหาทางสายตา ฉะนั้นถ้าเราไม่เอาใจใส่มันด ดีๆ แล้วละก็ ดวงตาอันล้ำค่าของสาวๆ ก็จะประสบเคราะห์ซ้ำกรรมซัดได้ ซึ่งคราวนี้ นอกจากจะมองไม่ชัดแล้ว อาจจะลุกลามไปยังปัญหาดวงตาอื่นๆอีกได้

เพื่อความปลอดภัย และความสบายตา การดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ จึงป็นเรื่องสำคัญมาก ทุกครั้งที่ถอดคอนแทคเลนส์ ควรทำความสะอาด ล้างและแช่ เพื่อฆ่าเชื้อโรค ด้วยผลิตภัณฑ์ดูแลรักษา คอนแทคเลนส์โดยเฉพาะ เช่น น้ำยาดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ ReNu MultiPlus ™

การเลือกใช้คอนแทคเลนส์ ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับบุคลิกภาพและความต้องการ

การเลือกใช้คอนแทคเลนส์ ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับตนเองนั้น เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากคอนแทคเลนส์ มีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น คอนแทคเลนส์รายปี คอนแทคเลนส์รายวัน คอนแทคเลนส์รายเดือน หรือ คอนแทคเลนส์รายสัปดาห์ อีกทั้งยังมีรายละเอียดอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของ วัถุดิบที่ใช้ผลิต เรื่องของ ความโค้ง และขนาดเลนส์ โดยในที่นี้เราจะพูดถึงเฉพาะ Soft Contactlens เนื่องจาก ปัจจุบัน เลนส์ Hard, RGP ไม่เป็นที่นิยมแล้ว

คอนแทคเลนส์ หรือ เลนส์สัมผัส

เลนส์สัมผัสหรือที่เราเรียกกันทับศัพท์ง่ายๆ ว่า คอนแทคเลนส์นั้น เป็นวิวัฒนาการทางจักษุวิทยาที่นำมาใช้แทนแว่นตา ช่วยแก้ปัญหาและขจัดความรำคาญของการใช้แว่นตา เสริมสร้างบุคลิกให้ผู้ที่มีสายตาผิดปกติให้มีความสวยงามเหมือนธรรมชาติ ไม่มีร่องรอยของแว่นตา และทำให้การมองเห็นภาพได้ชัดเจน เสมือนตาปกติโดยไม่ต้องใช้แว่นตา บางครั้งทำให้สะดวกและปลอดภัยในขณะที่เล่นกีฬาแทนการใส่แว่นตา

เลนส์สัมผัส แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
  1. คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง หรือ Hard Contact Lens เป็นเลนส์ที่ทำด้วยพลาสติกแข็งน้ำซึมผ่านไม่ได้เลย
  2. เลนส์ชนิดนิ่ม เป็นเลนส์ที่ทำด้วยพลาสติกที่สามารถอมน้ำได้ ตั้งแต่ 35 ถึง 65 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้นิ่มมีรูเล็กๆ และน้ำซึมผ่านได้ ช่วยให้ออกซิเจนสามารถละลายผ่านเข้าไปถึงกระจกตาได้สะดวกขึ้น แต่ก็มีผลเลียที่เลนส์ชนิดนี้ จะจับเอาโปรตีน เยื่อเมือก เกลือแร่ และอนุภาคต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำตาเข้าไว้ในตัวเลนส์ ทำให้เลนส์สกปรกง่าย เป็นฝ้า ชำรุดเกิดอาการแพ้และระคายเคืองตาได้ จึงต้องคอยระวังรักษาอย่างดี หมั่นทำความสะอาดโดยการใช้ระบบความร้อนทำความสะอาด หรือใช้น้ำยาแช่ทำความสะอาดแทนความร้อน

การเลือกซื้อคอนแทคเลนส์
คนเราแต่ละคน แตกต่างกัน บางคน ตาโต บางคนตาเล็ก ตาโปน ตาลึก ไม่เหมือนกัน คอนแทคเลนส์ที่ดีควร พอดีกับตาคนคนนั้น ทั้ง สายตา และกระชับตาดี

เลนส์ที่กำลังสายตาพอดี จะทำให้ท่านเห็นได้ชัดเจน สบายตา ไม่ต้องเพ่ง แต่ถ้าใส่เลนส์แล้วรู้สึกว่า เดี๋ยวชัดเดี๋ยวไม่ชัด แสดงว่า เลนส์ชิ้นนั้นไม่กระชับพอดีตา ลองทดลองด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ถ้าท่านใส่เลนส์อยู่ให้หลับตาลง เมื่อลืมตาขึ้น ถ้าภาพมัวแล้วค่อยๆ ชัดขึ้น ก็แสดงว่าเลนส์ที่ใส่อยู่นั้น หลวมเกินไป แต่ในทางกลับกัน ถ้าลืมตาขึ้น ภาพคมชัด แล้วค่อยๆ มัวลง ต้องกระพริบตาบ่อยๆ ถึงชัดขึ้น มักเกิดจากเลนส์คับเกินไป อาจต้องใช้เลนส์ที่หลวมกว่านั้น โดยส่วนมากผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าใจว่า Contact Lens เป็น Free Size


การเริ่มต้นใช้เลนส์อย่างถูกวิธี
  1. ควรบอกจักษุแพทย์ เป็นผู้เลือกเลนส์ที่น่าจะเหมาะสมกับคุณ
  2. บอกความต้องการของคุณให้ชัดเจนว่า ต้องการใช้เลนส์อะไร เอาเลนส์นิ่มหรือแข็ง อยากให้ชัดมากๆ หรือเอาสบายๆ เข้าไว้
  3. อยากใส่เลนส์ทุกวันหรือเฉพาะวัน
  4. เอาแบบเปลี่ยนรายวัน หรือเอาแบบประหยัด
  5. ถ้าคุณเป็นคนแพ้ง่าย ก็บอกไปด้วย
  6. งานอาชีพของคุณ ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ เป็นพนักงานบนเครื่องบิน เป็นศัลยแพทย์ มีข้อพิจารณา ข้อระวังในการ เลือกเลนส์เหมือนกัน

คุณหมอจะให้คุณลองคอนแทคเลนส์ที่เลือกไว้ ประเมินผลเบื้องต้นถ้าพอดี ก็ให้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันสัก 2-3 วัน แล้วนัดกลับมาตรวจอีกครั้งให้แน่ใจว่าเลนส์พอดี แต่พอไปใส่ทำงาน เมื่อตาแห้งเลนส์หลวมลง เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยคุณควรขอใบ Prescription จากคุณหมอ เพื่อสั่งซื้อเลนส์ในคราวต่อๆ ไป ซึ่งอาจซื้อตามร้านค้า หรือเดี๋ยวนี้สั้งทำทาง Internet ก็ได้


เมื่อได้เลนส์มา ควรตรวจสอบที่ข้างกล่องว่า ตรงกับใน Prescrition หรือไม่ ซึ่งประกอบด้วย
  • Lens Power สั้นยาว เอียง เท่าไร
  • Base Curve ซึ่งย่อว่า B.C. หมายถึง ความคับหลวมของเลนส์
  • Diameter หรืเส้นผ่านศูนย์กลาง

เลนส์ต่างยี่ห้อที่กำลังเท่ากัน มี Base curve เท่ากัน อาจจะใส่ไม่พอดีเหมือนเดิม ถ้าใส่เลนส์อะไรพอดีแล้ว ควรใช้แบบเดิมตลอด ไม่ควรเปลี่ยนบ่อยๆ หลายคนใช้คอนแทคเลนส์ไปเรื่อยๆ โดยไม่เคยมาพบแพทย์เลย ลองคิดดูนะคะ การใช้คอนแทคเลนส์ต้องเสียเงินอย่างต่ำ ปีละ 4- 5 พันบาทอยู่แล้ว แถมการใช้ที่ไม่ถูกต้องยังเสี่ยงกับสุขภาพตาได้ การให้คุณหมอช่วยเลือกเลนส์ให้ คุณจะมั่นใจว่า คุณจะใช้เงินของคุณอย่างคุ้มค่า ได้ดวงตาที่มีสุขภาพ


ข้อสำคัญ
  1. ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนใส่หรือถอดเลนส์
  2. อย่าใช้ยาหยอดตาทุกชนิดขณะใส่เลนส์
  3. ควรถอดเลนส์ก่อนนอนทุกคืน (อันนี้สำคัญมาก)
  4. อย่าใส่เลนส์ขณะตาอักเสบ หรือถ้ามีอาการผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด

ระวังคอนแทคเลนส์ปลอม

วัยรุ่นกับแฟชั่น นับว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาโดยตลอด มีการหมุนเวียนเปลี่ยนกระแสนิยมในเรื่องการแต่งกายไปเรื่อย ๆ และที่เริ่มได้รับความนิยมล่าสุดก็คือ คอนแทคเลนส์ตาโต หรือที่เรียกว่า “บิ๊กอาย” ที่ทำให้ตาโตเหมือนสาวเกาหลี ญี่ปุ่น ประกอบกับมีให้เลือกหลากหลายสี เช่น สีฟ้า สีเขียว สีน้ำตาล หรือมีลายประกายสีม่วง สีเทา ซึ่งจะทำให้ดวงตาดูแปลกไปจากเดิม

คอนแทคเลนส์เหล่านี้ มิได้มีขายแต่ในร้านขายแว่นตาหรือร้านขายยาเท่านั้น เพราะตามแผงลอย แผงแบกะดินก็มีวางขายเช่นกัน นอกจากนั้นยังเสนอขายในราคาที่เย้ายวนให้ตัดสินใจซื้อ เพราะมีราคาที่ถูกกว่าในร้าน จึงเป็นเหตุให้มีของเลียนแบบหรือคอนแทคเลนส์ปลอมเกิดขึ้น

สิ่งที่น่ากังวลก็คือความปลอดภัยต่อการนำไปใช้ เพราะหากเป็นคอนแทคเลนส์ปลอม หรือของเลียนแบบ อาจมีคุณภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน จึงเป็นอันตรายต่อลูกตาและเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากโรคต่าง ๆ จนอาจถึงขั้นทำให้ตาบอดได้

ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับแหล่ง ร้านค้าที่จำหน่าย โดยเลือกซื้อจากร้านที่มีความน่าเชื่อถือและไว้ใจได้ หรือหมั่นตรวจสอบทุกครั้งว่าคอนแทคเลนส์ที่เลือกซื้อมีการบรรจุอย่างเรียบ ร้อยและมีฉลากกำกับที่ครบถ้วนถูกต้อง แล้วจึงค่อยตัดสินใจวื้อ อย่าให้เป็น “คนซื้อสวย คนขายหลอก แต่สุดท้ายกลับแย่”

ความเหมาะสมของบุคคลต่างๆ กับการใช้คอนแทคเลนส์

ผู้ที่เหมาะจะใส่คอนแทคเลนส์
1. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาดังนี้
  • สายตาสั้น
  • สายตายาว
  • สายตาเอียง
  • สายตาคนสูงอายุ
2. ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดต้อกระจกทั้งชนิด ข้างเดียวหรือ 2 ข้าง
3. ผู้ที่มีอาการตาสั่น (nystagmus) และควรแนะนำเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม
4. ผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวเป็นอุปสรรค
5. ผู้ที่มีกระจกตาโค้งมากกว่าปกติ (Keratoconus) เช่น 6.9, 5.4 และกระจกตาบางมาก ควรแนะนำเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง (HCL)
6. ผู้ที่เป็น "TRICHIASIS" คือมีความผิดปกติของขนตาที่งอนเข้าไปแยงกระจกตา เป็นสาเหตุทำให้น้ำตาไหล แก้ไขได้โดยใส่คอนแทคเลนส์ขนิดนิ่ม (SCL)
7.ผู้ที่เป็น "ENTROPION" คือขอบตาเปิดเข้าด้านในมากกว่าปกติ แก้ไขได้โดยใส่คอนแทคเลนส์ขนิดนิ่ม (SCL)

ผู้ที่ไม่เหมาะจะใส่คอนแทคเลนส์
1. มีสุขภาพตาไม่ดีเช่น เป็นต้อลม, ต้อเนื้อ, ตาแดง, กระจกตาไม่รับรู้ความรู้สึก, ตาแห้ง, ตาบวมและผู้ที่กระพริบตาครึ่งตา
2. มีโรคประจำตัวบางโรคเช่น
  • โรคเบาหวานมีอาการบวมเป็นแผลถลอก แผลหายช้าและอักเสบง่าย ค่าสายตาไม่คงที
  • โรคไขข้ออักเสบ ทำให้ตาแห้งการทำความสะอาดเลนส์และการใส่ต้องตรวจและติดตามผลบ่อยกว่าปกติ
  • โรคความดันโลหิตสูง มีผลทำให้น้ำในร่างกายไม่คงที่
  • โรคภูมิแพ้ มีโอกาสแพ้เนื้อวัสดุที่ผลิตคอนแทคเลนส์และแพ้น้ำยาได้ จะทำให้มีอาการตาแดง, ตาแห้งและคันตา
  • ตั้งครรภ์ ทุกอย่างในร่างกายจะปรับสภาพใหม่ มีผลทำให้กระจกตาบวม ควรแนะนำให้ใส่หลังคลอดแล้ว 3-4 เดือน
3. ผู้ที่ต้องทานยาบางประเภทเป็นประจำ เช่น
  • ยา ANTIHISTAMINE รักษาโรคภูมิแพ้
  • ยา ANTIDIABETIC รักษาโรคเบาหวาน
  • ทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานหลายปี มีผลทำให้น้ำที่กระจกตามีมากขึ้น 78% จะมีอาการกระจกตาบวม
4. ผู้ที่ทำงานบางประเภทที่ต้องประสบกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นประจำ เช่น
  • มีฝุ่นละอองมาก
  • มีลมแรงพัดผ่านเป็นประจำ
  • มีควันบุหรี่หรือควันพิษ รวมถึงเขม่าต่างๆ
  • มีไอระเหยของสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตราย
5. ผู้ที่อายุไม่เหมาะสม เช่น เด็กเกินไปหรือมีอายุมากเกินไป ไม่สามารถรับผิดชอบตัวเองได้

สิ่งที่ต้องรู้เมื่อจะซื้อ คอนแทคเลนส์

คอนแทคเลนส์ชนิด Disposable หมายถึงเลนส์ที่ใช้แล้วไม่ต้องล้างเลย ใช้แล้วถอดทิ้งเหมือนเราใช้กระดาษทิชชู ส่วน คอนแทคเลนส์ชนิด Planned Replacement หมายถึงเลนส์ที่ใช้แล้วใช้ซ้ำอีกได้ แต่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ มีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้น ทุก 2-4 สัปดาห์

คอนแทคเลนส์ทั้งสองประเภท เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เรื่อยๆ แต่มีความเข้าใจผิดของผู้ใช้อยู่เสมอว่า เลนส์พวกนี้เป็นเลนส์ Free size ดังนั้นเมื่อไปหาซื้อเลนส์ ผู้ใช้มักบอกคนขายแต่เพียงว่า ต้องการ ACUVUE เบอร์ -3.00 หรือ ต้องการ FOCUS เบอร์ -4.75 เท่านั้น และ คนขายก็มักหยิบเลนส์มาให้ได้เสียด้วย ที่จริงแล้ว บนหน้าซองบรรจุเลนส์ คุณจะเห็นว่านอกจากค่ากำลังของเลนส์ หรือ power -3.00 D หรือ -4.75D แล้วยังมีตัวอักษร B.C. 8.8 หรือ B.C. 8.6 กำกับมาด้วย ให้คุณแน่ใจได้เลยว่า นั่นย่อมไม่ได้หมายความว่าเลนส์ชิ้นนั้น ผลิตขึ้นก่อนคริสตกาล แต่มันสำคัญอย่างไรด้วยหรือ หรือฝรั่งทำเกินมา เฉยๆ

ค่า B.C. ย่อมาจาก Base Curve หมายถึงรัศมีความโค้งด้านหลังของเลนส์ชิ้นนั้น ซึ่งเป็นด้านจะต้องสัมผัสกับดวงตาของเรา เลนส์ที่มี B.C. 8.8 มิลลิเมตร หมายถึงเลนส์ชิ้นนั้น แบนกว่าเลนส์ที่มี B.C. 8.4 มิลลิเมตร ซึ่งจะทำให้ เลนส์ 8.4 ติดแน่น บีบรัดดวงตามากกว่าส่วนเลนส์ 8.8 จะรู้สึกหลวมเลื่อนได้มากก

เมื่อคุณซื้อเลนส์ คุณอาจเพิ่มหรือลด กำลังของเลนส์ได้ตามใจชอบ เช่น อยากให้ภาพคมชัดขึ้น อาจลองซื้อเลนส์กำลังสูงขึ้นสัก 0.25 แต่ถ้าใส่แล้วไม่ชอบใจ อยากใส่ให้ภาพนุ่มนวลลงก็อาจซื้อเลนส์อ่อนลง สัก 0.25 ได้ไม่เสียหายอะไรนอกจากรู้สึกมึนๆนิดๆ แต่การเปลี่ยนค่า Base Curve ขอให้เป็นหน้าที่ของจักษุแพทย์นะคะ เพราะการใส่เลนส์คับหรือหลวมเกินไปอาจเป็นอันตรายได้ ควรซื้อเลนส์ Base Curve เดิมเสมอ ห้ามเปลี่ยนเองค่ะ

Loading

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More