แฟชั่น บิ๊กอาย

บิ๊กอาย กับ แฟชั่นในปัจจุบัน

เลนส์ตาโต เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดตาโต หรือที่วัยรุ่นเรียกกันว่า “บิ๊กอาย”จะเหมือนกับคอนแทคเลนส์แฟชั่นสมัยก่อนที่มีสีสันให้เลือกมากมาย แต่ที่แตกต่างคือ เลนส์สีบริเวณตรงกลางดวงตาจะเป็นเลนส์ใสปกติแต่บริเวณขอบเลนส์จะมีสีดำ ทำให้ขอบตาคุณดูชัดมากขึ้น มีราคาตั้งแต่ 450 – 2,000 บาท

ใส่บิ๊กอายตาติดเชื้อ

บิ๊กอายทำตาบอด ติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์เตือนวัยโจ๋

แพทย์เตือนอันตรายจากคอนแทกท์เลนส์ "บิ๊กอาย" หลังมีผู้ป่วยติดเชื้อสูโดโมแนสที่ตา ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาตัวแล้ว 4 ราย จักษุแพทย์ ระบุ เป็นแบคทีเรียร้ายแรงลามกินตาดำได้ภายใน 2 วัน รักษาไม่ทันถึงขั้นตาบอด ผู้ป่วยรับหาซื้อง่ายแม้กระทั่งตามตลาดนัด จี้ภาครัฐออกมาเข้มงวด เพราะจัดอยู่ในกลุ่ม เครื่องมือแพทย์ ต้องได้รับอนุญาตจาก อย.

เลดี้ กาก้า Lady Gaga ใส่บิ๊กอาย

เลดี้กาก้า นำเทรนบิ๊กอาย อเมริกาเตือน Big Eye เป็นอันตราย ผิดกฏหมายในอเมริกา

นับตั้งแต่กระแสความโด่งดังของ Music Video "Bad Romance" ของนักร้องสาวชาวอังกฤษ Lady Gaga ทำให้วัยรุ่นอเมริกันเริ่มนิยมใส่ Contact Lenses ที่เรียกว่า "Big Eye" กันเป็นจำนวนมาก จนหลายฝ่ายต้องออกมาเตือนในการใช้และการเลือกซื้อ เพราะวัยรุ่นจำนวนมากนิยมสั่งซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต จากร้านค้าออนไลน์ในแถบเอเชีย...

บิ๊กอาย คอนแทคเลนส์ปลอม

อันตรายจากการใช้คอนแทคเลนส์แฟชั่น "บิ๊กอาย"

กระแสคอนแทคเลนส์แฟชั่นได้แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณต้นปี 2549 ที่ผ่านมา โดยวัยรุ่นไทยนิยมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพื่อให้ตา กลมโตเลียนแบบดาราเกาหลี และญี่ปุ่น คอนแทคเลนส์แฟชั่นดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีในนาม บิ๊กอายส์ หรือ คอนแทคเลนส์ตาโต ราคาก็มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน ระยะเวลาการใช้งานก็มีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ 1 เดือนไปจนถึง 1 ปี

20 พ.ย. 2565

โรคที่เกิดการการใส่คอนแทคเลนส์ไม่ถูกต้อง

คอนแทคเลนส์ แม้จะมีประโยชน์ แต่ก็มีอันตรายมากเช่นกัน เพราะต้องสัมผัสกับดวงตาโดยตรง ซึ่งการใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่สะอาดและถูกสุขลักษณะอาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจร้ายแรงได้ การดูแลรักษาที่ไม่ดีก็อาจทำให้คอนแทคเลนส์กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคสารพัดชนิดที่ก่อให้เกิดอันตรายที่กระจกตา เช่น


- เยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากสารเคมี (Toxic Conjunctivitis) เกิดจากการแพ้สารประกอบที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลคอนแทคเลนส์ เมื่อคอนแทคเลนส์ดูดซึมสารเหล่านี้เข้าไปจึงทำให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกับสารจนเกิดอาการแพ้ 

- แผลอักเสบที่กระจกตา (Superficial Punctate Keratitis) เป็นอาการที่เกิดขึ้นการอาการตาแห้ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากมลพิษ การอยู่ในห้องที่อากาศแห้ง หรือการใช้ยาบางชนิด โดยอาการที่เห็นได้ชัดคือจะเกิดแผลเล็ก ๆ บริเวณด้านล่างของกระจกตา ซึ่งจะไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ชัด จะต้องใช้กล้องตรวจตา หรือแสงสีฟ้าส่องจึงจะเห็น แผลอักเสบนี้จะนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ เช่น คอนแทคเลนส์ฉีกขาด รู้สึกเจ็บเวลาสวมคอนแทคเลนส์ อาการเลนส์คับแเน่น (Tight Lenses Syndrome) มักพบในผู้ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง การสวมใส่ติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้คอนแทคเลนส์ติดแน่นกับกระจกตา เป็นสาเหตุให้ผู้สวมใส่กระพริบตาได้น้อยลง อาการที่อาจพบได้คือ กระจกตาบวมน้ำ หากไม่ได้รับการรักษาที่ดีก็จะทำให้หลับตาได้ไม่สนิท ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติ และกระจกตาแห้ง 

- กระจกตาอักเสบเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย (Microbial Keratitis) ถือเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุด เพราะอาจทำให้ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ตาบอดได้ พบได้บ่อยให้ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม และผู้ที่ชอบใส่คอนแทคเลนส์ขณะนอนหลับ การติดเชื้อนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ตกค้างอยู่ภายในคอนแทคเลนส์ เมื่อกระจกตาสัมผัสกับเลนส์ที่ติดเชื้อ จะทำให้เกิดอาการเจ็บตา ตาแฉะ ตาแดง ตาไม่สู้แสง และระคายเคือง ซึ่งหากเกิดอาการ

การใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่สะอาดอาจ จึงก่อให้เกิดปัญหาได้หลายประการโดยจะส่งผลกับกระจกตาและการมองเห็นในอนาคต ดังนั้น ผู้สวมใส่จึงต้องมีความใส่ใจในการดูแลรักษาความสะอาด และเลือกใส่คอนแทคเลนส์ที่เหมาะสม ได้มาตรฐาน 

คอนแทคเลนส์แต่ละประเภท

ปัจจุบัน คอนแทคเลนส์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 

1) คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม (Soft Contact Lenses) เป็นคอนแทคเลนส์ประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ผลิตจากพลาสติกชนิดพิเศษที่มีลักษณะนิ่ม บิดงอได้ คุณสมบัติในการอุ้มน้ำสูง และออกซิเจนสามารถผ่านเข้าไปยังกระจกตาได้ อีกทั้งยังใช้ง่าย โดยคอนแทคเลนส์แบบนิ่มจะใช้เพื่อแก้ปัญหาสายตาสั้น-ยาว สายตาเอียง อีกทั้งยังใช้ในผู้สูงอายุที่มีภาวะสายตายาวตามอายุ รวมถึงผู้ป่วยที่มีผิวกระจกตาขรุขระเนื่องจากกระจกตาเป็นแผล ซึ่งคอนแทคเลนส์แบบนิ่มก็ยังแบ่งออกเป็นอีก 3 ประเภทย่อย ๆ ได้แก่
- คอนแทคเลนส์รายวัน (Daily Wear Lenses) เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดที่สามารถใส่ได้ในระหว่างวัน และถอดเพื่อทำความสะอาดในตอนเย็น ซึ่งอายุการใช้งานจะขึ้นอยู่กับผู้ผลิต มีทั้งแบบอายุการใช้งานหลายเดือน หรือมีอายุการใช้งานเป็นปี แต่ก็ไม่ควรใส่ติดต่อกันเกินวันละ 8-10 ชั่วโมง และไม่ควรใส่นอน 
- คอนแทคเลนส์ชนิดใส่ได้ในระยะยาว (Extended Wear Lenses) คอนแทคเลนส์ชนิดนี้สามารถใส่ได้นานกว่าคอนแทคเลนส์ชนิดแรก อาจสามารถใส่ติดต่อได้หลายวันโดยไม่ต้องถอดออกมาทำความสะอาด แต่แพทย์ส่วนใหญ่มักจะไม่แนะนำให้ใส่นอน และควรถอดออกมาทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อป้องกันความเสี่ยงการติดเชื้อ
- คอนแทคเลนส์แบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable Lenses) เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดที่สามารถใช้แล้วทิ้งได้ในทันทีโดยไม่ต้องทำความสะอาด ทำให้ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน มีทั้งแบบรายวัน รายสัปดาห์ และราย 2 สัปดาห์

2) คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง (Hard Contact Lenses) คอนแทคเลนส์ชนิดนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่าคอนแทคเลนส์ชนิดแข็งที่ก๊าซสามารถซึมผ่านได้ (Rigid Gas Permeable Lenses: RGP Lenses) เป็นคอนแทคเลนส์ที่ผลิตจากพลาสติกชนิดพิเศษที่ออกซิเจนสามารถผ่านตัวเลนส์ไปยังกระจกตาได้มาก ทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ดวงตาลดลง และมองเห็นได้ชัดกว่า อีกทั้งยังใช้ได้นาน มีความคงทนสูงต่อรอยขูดขีดหรือคราบสกปรกที่เกาะบนคอนแทคเลนส์ เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของผู้ที่มีปัญหาสายตา แต่ไม่สามารถใช้คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มได้เนื่องจากสวมใส่แล้วไม่สบายตา หรือมีปัญหาเรื่องตาแห้ง ซึ่งข้อดีของคอนแทคเลนส์ชนิดนี้คืออากาศผ่านได้ อีกทั้งยังสามารถถอดนำมาทำความสะอาดได้

3) คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ (Specialized Contact Lenses) เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดที่ผลิตขึ้นโดยเฉพาะเพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น 
- คอนแทคเลนส์แบบไฮบริด (Hybrid Contact Lenses) เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษที่มีทั้งแบบชนิดนิ่มและชนิดแข็งอยู่ด้วยกัน สามารถแก้ปัญหาสายตา ทั้งสั้น-ยาว สายตาเอียงหรือผู้ที่มีกระจกตาผิดปกติ และผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องกระจกตา เป็นต้น เหมาะกับคนที่มีปัญหาในการใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง 
- คอนแทคเลนส์หลายระดับ (Multifocal Contact Lenses) เป็นคอนแทคเลนส์ที่มีทั้งแบบแข็งและนิ่ม ซึ่งภายในเลนส์จะมีค่าสายตาหลายระดับเพื่อให้เหมาะต่อการใช้งาน นิยมใช้ในผู้ที่มีปัญหาสายตาเสื่อมสภาพลงตามวัย
- คอนแทคเลนส์สี (Tinted Contact Lenses) แบ่งออกได้เป็นหลายชนิดตามจุดประสงค์ในการใช้ ได้แก่ ใช้เพื่อความสวยงาม เช่น คอนแทคเลนส์สีแฟชั่น หรือคอนแทคเลนส์บิ๊กอาย ซึ่งมีวางขายตามท้องตลาด โดยคอนแทคเลนส์ชนิดนี้จะต้องระมัดระวังและเลือกใช้ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีคอนแทคเลนส์สีชนิดที่ช่วยกรองแสงยูวี และคอนแทคเลนส์สีที่ช่วยแก้ปัญหาตาบอดสี ซึ่งจะต้องได้รับการแนะนำหรือคำสั่งจากจักษุแพทย์จึงจะสามารถใช้ได้ 


การใส่คอนแทคเลนส์อย่างปลอดภัย

ใครที่ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์
ผู้ที่มีโรคประจำตัวดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยโรคผิวหนังที่มีอาการบริเวณหนังตา เปลือกตา ผู้ที่มีอาการตาแห้ง และกระจกตาผิดปกติ ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ที่มีอาการตาโปน เพราะตาโปนจะทำให้คอนแทคเลนส์หลุดออกมาได้ง่าย ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ค่อยดี เพราะอาจมีปัญหาคุณภาพน้ำตาได้ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่มีโอกาสเสี่ยงในการแพ้พลาสติกที่ใช้ทำคอนแทคเลนส์หรือน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ได้ ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการหยิบจับคอนแทคเลนส์ เนื่องจากอาการป่วย เช่น โรคมือสั่นจากสมอง หรือโรคผิวหนังบริเวณนิ้วหรือเล็บ

การใส่คอนแทคเลนส์ให้ถูกวิธีและปลอดภัย
คอนแทคเลนส์เป็นอุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสกับกระจกตา ซึ่งเป็นส่วนที่บอบบางมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสวมใส่คอนแทคเลนส์ให้ถูกวิธี ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อที่กระจกตาที่อาจนำมาสู่ปัญหาร้ายแรงได้ โดยวิธีการสวมใส่คอนแทคเลนส์ที่ถูกต้องและปลอดภัยมีดังนี้ เลือกใช้คอนแทคเลนส์ที่เหมาะกับสภาพดวงตา ควรปรึกษาจักษุแพทย์ก่อนใช้ เพื่อตรวจวัดระดับสายตาว่ามีอาการของสายตาสั้น สายตายาว หรือมีสายตาเอียงร่วมด้วยหรือไม่ โดยแพทย์จะทำการตรวจดูลักษณะน้ำตา สภาพลูกตา อาชีพ และกิจกรรมของผู้ใช้ เนื่องจากคอนแทคเลนส์ทุกชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน เพื่อที่แพทย์จะแนะนำคอนแทคเลนส์ที่เหมาะสมที่สุดได้ สวมคอนแทคเลนส์ในระยะเวลาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น หากจำวันที่เปลี่ยนคอนแทคเลนส์ไม่ได้ ควรจดบันทึกแจ้งเตือน ไม่ใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจทำให้ติดเชื้อรุนแรง ไม่ควรสวมคอนแทคเลนส์สลับข้างกัน ซ้าย-ขวา ไม่ควรนอนหลับขณะที่ยังสวมคอนแทคเลนส์อยู่ เพราะจะทำให้ออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงที่ดวงตาได้ไม่เต็มที่ ไม่ควรให้ปลายของขวดน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์สัมผัสกับสิ่งอื่น ๆ เพราะจะทำให้เกิดการปนเปื้อนได้ สวมแว่นตากันแดดทุกครั้งที่ใส่คอนแทคเลนส์ เพื่อลดอาการแสบตาเนื่องจากขณะสวมคอนแทคเลนส์จะทำให้ดวงตาไวต่อแสง ดูแลดวงตาให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอด้วยการหยอดน้ำตาเทียม หรือสารละลายน้ำเกลือ ควรใส่คอนแทคเลนส์ด้วยปลายนิ้วชี้และก่อนใส่ ควรสังเกตคอนแทคเลนส์ เพื่อป้องกันการใส่คอนแทคเลนส์ผิดด้าน ซึ่งอาจส่งผลให้รู้สึกไม่สบายตา โดยวิธีการสังเกตด้านคอนแทคเลนส์ที่ถูกต้อง คือ จะมีลักษณะคล้ายตัวยู (U) แต่ถ้าหากผิดด้าน รูปทรงของคอนแทคเลนส์จะมีลักษณะแหลม หากรู้สึกระคายเคืองตา ให้ถอดคอนแทคเลนส์ออกในทันที และไม่ควรใส่อีกจนกว่าจะได้พบแพทย์ ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ขณะว่ายน้ำ การดูแลรักษาดวงตาและคอนแทคเลนส์ให้ถูกต้อง นอกจากการใส่คอนแทคเลนส์ที่ถูกต้องแล้ว การดูแลรักษาดวงตาและคอนแทคเลนส์ก็สำคัญเช่นกัน เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อที่ดวงตาได้ และวิธีการดูแลรักษาที่ถูกต้องมีดังนี้ 

การดูแลรักษาคอนแทคเลนส์
ก่อนหยิบจับคอนแทคเลนส์ทุกครั้ง ควรล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด และเช็ดมือด้วยผ้าเช็ดมือที่สะอาดเพื่อป้องกันการปนเปื้อน ห้ามแช่หรือล้างคอนแทคเลนส์ในน้ำสะอาดโดยเด็ดขาด หากต้องแต่งหน้า ควรใส่คอนแทคเลนส์ก่อนแต่งหน้าบริเวณดวงตา ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ได้มาตรฐาน หรือตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น จะช่วยยืดอายุการใช้งานของคอนแทคเลนส์และป้องกันการติดเชื้อที่ดวงตาได้ ห้ามใช้น้ำลายเพื่อทำความสะอาดคอนแทคเลนส์หรือทำให้คอนแทคเลนส์ชุ่มชื้น เพราะในน้ำลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ห้ามนำสารละลายน้ำเกลือ หรือน้ำตาเทียมทำความสะอาดคอนแทคเลนส์โดยเด็ดขาด ในขณะทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ ควรถูคอนแทคเลนส์ด้วยปลายนิ้วเบา ๆ เพื่อขจัดเชื้อ หรือสิ่งแปลกปลอม และควรล้างตลับใส่คอนแทคเลนส์ จากนั้นตากให้แห้งเพื่อทำการฆ่าเชื้อ ควรเปลี่ยนตลับคอนแทคเลนส์อย่างน้อยทุก 3 เดือน หากต้องเดินทาง ไม่ควรแบ่งน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ใส่ขวดอื่น ๆ เพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ห้ามใช้น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ที่เก่าเก็บหรือเปิดทิ้งไว้เป็นเวลานานแล้ว อีกทั้งยังควรสังเกตวันหมดอายุของน้ำยาคอนแทคเลนส์ การดูแลรักษาดวงตา คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) แม้จะผลิตภัณฑ์แก้ปัญหาสายตายอดนิยมของคนในปัจจุบัน ที่ทั้งสามารถช่วยปรับเปลี่ยนบุคลิกและเพิ่มความคมชัดในผู้มีปัญหาสายตา แต่ผู้ใช้คอนแทคเลนส์ควรรู้หลักในการใช้ที่ถูกต้องและควรรักษาความสะอาดอย่างมาก เพราะการใช้อย่างไม่ระมัดระวังอาจทำให้เกิดผลร้ายแรงถึงขั้นตาบอดได้ ดังนั้น หากเมื่อรู้สึกใส่แล้วมองไม่ชัด มีอาการระคายเคือง หรือมองไม่เห็น เห็นแสงวูบวาบ มีอาการเจ็บตา ดวงตาติดเชื้อ ตาบวม หรือมีอาการแดงผิดปกติ ควรรีบถอดคอนแทคเลน์ออกแล้วรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้คอนแทคเลนส์แฟชั่นที่ซื้อจากร้านที่ไม่มีมาตรฐาน และไม่มีการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมอาหารและยา เพราะคอนแทคเลนส์ที่ไม่ได้มาตรฐานอาจเป็นอันตรายจนทำให้ตาบอดได้

ที่มาเนื้อหา : pobpad.com

Loading

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More