แฟชั่น บิ๊กอาย

บิ๊กอาย กับ แฟชั่นในปัจจุบัน

เลนส์ตาโต เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดตาโต หรือที่วัยรุ่นเรียกกันว่า “บิ๊กอาย”จะเหมือนกับคอนแทคเลนส์แฟชั่นสมัยก่อนที่มีสีสันให้เลือกมากมาย แต่ที่แตกต่างคือ เลนส์สีบริเวณตรงกลางดวงตาจะเป็นเลนส์ใสปกติแต่บริเวณขอบเลนส์จะมีสีดำ ทำให้ขอบตาคุณดูชัดมากขึ้น มีราคาตั้งแต่ 450 – 2,000 บาท

ใส่บิ๊กอายตาติดเชื้อ

บิ๊กอายทำตาบอด ติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์เตือนวัยโจ๋

แพทย์เตือนอันตรายจากคอนแทกท์เลนส์ "บิ๊กอาย" หลังมีผู้ป่วยติดเชื้อสูโดโมแนสที่ตา ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาตัวแล้ว 4 ราย จักษุแพทย์ ระบุ เป็นแบคทีเรียร้ายแรงลามกินตาดำได้ภายใน 2 วัน รักษาไม่ทันถึงขั้นตาบอด ผู้ป่วยรับหาซื้อง่ายแม้กระทั่งตามตลาดนัด จี้ภาครัฐออกมาเข้มงวด เพราะจัดอยู่ในกลุ่ม เครื่องมือแพทย์ ต้องได้รับอนุญาตจาก อย.

เลดี้ กาก้า Lady Gaga ใส่บิ๊กอาย

เลดี้กาก้า นำเทรนบิ๊กอาย อเมริกาเตือน Big Eye เป็นอันตราย ผิดกฏหมายในอเมริกา

นับตั้งแต่กระแสความโด่งดังของ Music Video "Bad Romance" ของนักร้องสาวชาวอังกฤษ Lady Gaga ทำให้วัยรุ่นอเมริกันเริ่มนิยมใส่ Contact Lenses ที่เรียกว่า "Big Eye" กันเป็นจำนวนมาก จนหลายฝ่ายต้องออกมาเตือนในการใช้และการเลือกซื้อ เพราะวัยรุ่นจำนวนมากนิยมสั่งซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต จากร้านค้าออนไลน์ในแถบเอเชีย...

บิ๊กอาย คอนแทคเลนส์ปลอม

อันตรายจากการใช้คอนแทคเลนส์แฟชั่น "บิ๊กอาย"

กระแสคอนแทคเลนส์แฟชั่นได้แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณต้นปี 2549 ที่ผ่านมา โดยวัยรุ่นไทยนิยมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพื่อให้ตา กลมโตเลียนแบบดาราเกาหลี และญี่ปุ่น คอนแทคเลนส์แฟชั่นดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีในนาม บิ๊กอายส์ หรือ คอนแทคเลนส์ตาโต ราคาก็มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน ระยะเวลาการใช้งานก็มีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ 1 เดือนไปจนถึง 1 ปี

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ตาบอด แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ตาบอด แสดงบทความทั้งหมด

30 เม.ย. 2555

“บิ๊กอาย” ความสวยอาจทำให้ตาบอดได้

"บิ๊กอาย” กำลังเป็นที่นิยมของสาว ๆ ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงคนทำงานที่ต้องการให้ดวงตามีสีสัน กลมโต ตามแฟชั่นดารานักร้องเกาหลี ซึ่งมีหลากหลายสี ทั้งสีดำ น้ำตาล ม่วง เขียว เทา รวมไปถึงลวดลายแปลกๆ อย่างลายเพชร หรือตารางหมากรุก

บิ๊กอาย คือคอนแทคเลนส์ชนิดหนึ่งแต่ไม่ได้ช่วยเรื่องการปรับสายตาสั้นยาว ปัจจุบันหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดไม่จำกัดแค่เพียงการซื้อขายในร้ายสายตาเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นท้องตลาด แผงลอย หรือแม้แต่เว็บไซต์ก็สามารถหาซื้อได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ในราคาตั้งแต่ ๕๐ ไปจนถึง ๕๐๐ บาท นอกจากราคาที่ถูกแล้วบางร้านยังมีการโฆษณาอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง ๑ ปีอีกด้วย

จะเกิดอะไรกับดวงตาผู้สวมใส่เนื่องจากบิ๊กอายคือคอนแทคเลนส์ที่ใช้กับดวงตาที่เป็นอวัยวะที่อ่อนไหวมากที่สุด บางรายผู้สวมยังนำมาแลกเปลี่ยนกันใส่ การใช้ที่ไม่ถูกวิธี หรือคอนแทคเลนส์ที่ไม่มีความสะอาดเพียงพออาจนำเชื้อโรคเข้าสู่ลูกตา ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ตั้งแต่มีอาการเคืองตา ตาแห้ง ตาอักเสบ ตาขาดออกซิเจน หรือภาวะการติดเชื้อ หากติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้กระจกตาอักเสบและเป็นแผล จนในที่สุดก็อาจทำให้กระจกตาทะลุ และเกิดการอักเสบติดเชื้อในลูกตาได้ จนอาจถึงขั้นต้องควักลูกตาออกได้ เพราะหากปล่อยไว้เชื้อจะกระจายเข้าสู่สมองได้

การใช้คอนแทคเลนส์ที่ถูกวิธี ต้องเก็บรักษาในน้ำยาแช่คอนแทคเลนส์โดยเฉพาะ และปิดฝาให้สนิท เปลี่ยนน้ำยาแช่เลนส์ทุกครั้งที่ใช้ ห้ามล้างคอนแทคเลนส์ด้วยน้ำประปา เนื่องจากสารคลอรีนที่อยู่น้ำประปาอาจกัดกร่อนเลนส์ ทำให้เลนส์เสื่อมสภาพ ขุ่นมัว หรืออาจมีสิ่งเจือปนทำให้เลนส์สกปรกได้ และต้องล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสคอนแทคเลนส์ทุก

"บิ๊กอายส์” ถือว่าเป็นสินค้าในลักษณะเดียวกับคอนแทคเลนส์ การจะนำมาจัดจำหน่ายต้องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ก่อนและต้องมีการแสดงฉลากแสดงอายุการใช้ คำเตือน ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวังในการใช้ไว้ในฉลาก หรือเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ และในการโฆษณาต้องได้รับอนุญาตจาก อย. รวมทั้งต้องมีใบรับรองจากประเทศที่นำเข้ามาด้วย การตัดสินใจใช้คอนแทคเลนส์จึงควรปรึกษาจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน ดวงตาโดยเฉพาะ สำหรับคอนแทคเลนส์ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เปลี่ยนสีตา ขยายขนาดของตาดำ มักจะใช้ในกลุ่มผู้ที่ต้องอาศัยรูปร่างหน้าตาในการประกอบอาชีพ เช่น ดารา นักร้อง นางแบบ เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุด คือ การระมัดระวังเรื่องความสะอาด เนื่องจากคอนแทคเลนส์ต้องสัมผัสกับกระจกตาโดยตรง และใช้เวลานาน หากคอนแทคเลนส์สกปรก จะทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระจกตา และอาจลุกลามถึงขั้นตาบอดได้ภายใน ๒ วัน

ที่มา : hxxp://hq.prd.go.th/prTechnicalDM/ewt_news.php?nid=598&filename=index

29 พ.ค. 2553

ภาวะการแพ้ Contact Lens (GPC)

ภาวะ การแพ้ Contact Lens มีชื่อทางการแพทย์ว่าโรค GPC ย่อมาจาก Giant Papillary Conjunctivitis ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับดวงตา พบในผู้ที่ใส่ Contact Lens ชนิดถาวร หรือเลนส์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 30 วัน (Permanent lenses) โดยอาการแพ้ดังกล่าวเกิดจากคอนแทคเลนส์สกปรก มีคราบโปรตีนที่ล้างไม่หมดเกาะอยู่ คราบโปรตีนเหล่านั้นเป็นส่วนประกอบของน้ำตาธรรมชาติ ที่เมื่อสะสมรวมกับสารภายนอก เช่น ฝุ่นละออง เครื่องสำอาง จะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาขึ้นได้

ผู้ที่เป็นโรค GPC จะมีอาการคันตา ระคายเคือง มีขี้ตาเป็นเมือกขาว ตาแดงเรื่อๆ และไม่สบายตาเท่ากับช่วงที่ใส่คอนแทคเลนส์ใหม่ๆ นอกจากนี้บางครั้งคอนแทคเลนส์อาจเลื่อนหลุดได้ง่ายอีกด้วย เมื่อจักษุแพทย์ทำการตรวจดวงตาของผู้ที่เป็น GPC ด้วยกล้องขยายพิเศษสำหรับตรวจตา (Slit lamp) จะพบมีเม็ดเล็กๆ (Papilla) ที่เยื่อบุตาบริเวณด้านในของเปลือกตา ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเกิดภูมิแพ้ที่ดวงตา
อาการแพ้ในโรค GPC อาจรักษาให้หายได้โดยการพบจักษุแพทย์ แพทย์จะแนะนำให้หยุดใส่คอนแทคเลนส์ไว้ชั่วคราวก่อน และให้ยาแก้แพ้มาหยอดตา แต่เมื่อกลับมาใส่คอนแทคเลนส์อีกก็อาจกลับเป็นขึ้นมาใหม่ได้เรื่อยๆ ถ้าคุณยังปฏิบัติตัวเหมือนเดิม ดังนั้นคุณจึงควรแก้ไขที่สาเหตุ คือ กำจัดความสกปรกของ Contact Lens อย่างสม่ำเสมอให้ถูกต้อง โดยการชะล้างคราบโปรตีน ไขมัน และฝุ่นละอองต่างๆ ที่เกาะอยู่ออกให้หมด หรือเปลี่ยนไปใช้คอนแทคเลนส์ชนิดเปลี่ยนทุก 2-4 สัปดาห์ (Disposable lenses)

สารทำความสะอาดที่มีอยู่ในน้ำยา อเนกประสงค์ทุกชนิดที่มีขายในท้องตลาด สามารถทำความสะอาดคราบไขมัน เยื่อเมือก และโปรตีนได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ในการขจัดคราบโปรตีนสะสมจำเป็นต้องใช้เอ็นไซม์โปรตีเนส (Proteinase) ในการย่อยสลายโปรตีน จึงจะสามารถขจัดคราบโปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ โดยตัวเอนไซม์เองจะเป็นชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อเยื่อบุตา

ในน้ำยาทำความสะอาด Contact Lens แบบ อเนกประสงค์ทุกชนิดที่มีขายในท้องตลาดนั้น ไม่มีส่วนประกอบของเอ็นไซม์โปรตีเนส เพื่อใช้ในการย่อยสลายคราบโปรตีนสะสมดังกล่าว เนื่องจากเอ็นไซม์นี้จะไม่คงตัวในสารละลายที่มีปริมาตรมากๆ สารประกอบส่วนหลักๆ ในน้ำยาอเนกประสงค์ คือ

- สารฆ่าเชื้อโรค ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ดี บางชนิดสามารถฆ่าเชื้อรา และเชื้ออะแคนทามีบา (Acanthamoeba) ได้ด้วย
- สารทำความสะอาด ส่วนที่มีคุณสมบัติเป็นสบู่ ใช้ขจัดคราบไขมัน เยื่อเมือกได้ และอีกส่วนที่เป็นสารขจัดคราบโปรตีน ออกฤทธิ์ด้วยกลไกที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนิด แต่ไม่ใช่เอนไซม์โปรตีเนส

การใช้น้ำยาอเนกประสงค์เพียงขวด เดียว จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ใช้ Contact Lens แบบชั่วคราวไม่เกิน 30 วัน ถ้าใช้เลนส์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 30 วัน หรือเลนส์ถาวร การสะสมของสิ่งสกปรกบนผิว Contact Lens จะมากเกินกว่าที่จะสามารถขจัดออกได้ ด้วย สารขจัดคราบโปรตีนที่มีอยู่ในน้ำยาอเนกประสงค์ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องใช้เอ็นไซม์ร่วมด้วย ซึ่งอาจจะเป็นยาเม็ดเอ็นไซม์ละลายในน้ำยาล้างเลนส์ หรือเป็นเอ็นไซม์แบบน้ำยาสำเร็จรูปก็ได้ เพื่อให้ Contact Lens ของคุณสะอาด จะได้ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ Contact Lens


ข้อมูลจาก : http://www.freeforworld.com/index.php/33

Loading

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More