แฟชั่น บิ๊กอาย

บิ๊กอาย กับ แฟชั่นในปัจจุบัน

เลนส์ตาโต เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดตาโต หรือที่วัยรุ่นเรียกกันว่า “บิ๊กอาย”จะเหมือนกับคอนแทคเลนส์แฟชั่นสมัยก่อนที่มีสีสันให้เลือกมากมาย แต่ที่แตกต่างคือ เลนส์สีบริเวณตรงกลางดวงตาจะเป็นเลนส์ใสปกติแต่บริเวณขอบเลนส์จะมีสีดำ ทำให้ขอบตาคุณดูชัดมากขึ้น มีราคาตั้งแต่ 450 – 2,000 บาท

ใส่บิ๊กอายตาติดเชื้อ

บิ๊กอายทำตาบอด ติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์เตือนวัยโจ๋

แพทย์เตือนอันตรายจากคอนแทกท์เลนส์ "บิ๊กอาย" หลังมีผู้ป่วยติดเชื้อสูโดโมแนสที่ตา ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาตัวแล้ว 4 ราย จักษุแพทย์ ระบุ เป็นแบคทีเรียร้ายแรงลามกินตาดำได้ภายใน 2 วัน รักษาไม่ทันถึงขั้นตาบอด ผู้ป่วยรับหาซื้อง่ายแม้กระทั่งตามตลาดนัด จี้ภาครัฐออกมาเข้มงวด เพราะจัดอยู่ในกลุ่ม เครื่องมือแพทย์ ต้องได้รับอนุญาตจาก อย.

เลดี้ กาก้า Lady Gaga ใส่บิ๊กอาย

เลดี้กาก้า นำเทรนบิ๊กอาย อเมริกาเตือน Big Eye เป็นอันตราย ผิดกฏหมายในอเมริกา

นับตั้งแต่กระแสความโด่งดังของ Music Video "Bad Romance" ของนักร้องสาวชาวอังกฤษ Lady Gaga ทำให้วัยรุ่นอเมริกันเริ่มนิยมใส่ Contact Lenses ที่เรียกว่า "Big Eye" กันเป็นจำนวนมาก จนหลายฝ่ายต้องออกมาเตือนในการใช้และการเลือกซื้อ เพราะวัยรุ่นจำนวนมากนิยมสั่งซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต จากร้านค้าออนไลน์ในแถบเอเชีย...

บิ๊กอาย คอนแทคเลนส์ปลอม

อันตรายจากการใช้คอนแทคเลนส์แฟชั่น "บิ๊กอาย"

กระแสคอนแทคเลนส์แฟชั่นได้แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณต้นปี 2549 ที่ผ่านมา โดยวัยรุ่นไทยนิยมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพื่อให้ตา กลมโตเลียนแบบดาราเกาหลี และญี่ปุ่น คอนแทคเลนส์แฟชั่นดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีในนาม บิ๊กอายส์ หรือ คอนแทคเลนส์ตาโต ราคาก็มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน ระยะเวลาการใช้งานก็มีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ 1 เดือนไปจนถึง 1 ปี

17 เม.ย. 2555

สาระน่ารู้ : บิ๊กอาย

บิ๊กอาย เป็นคอนแทคเลนส์ชนิด bifocal เลนส์แบ่งออกเป็นสองครึ่งหนึ่ง ส่วนบนและส่วนอื่นๆ จะต่ำกว่า และบางครั้งก็สามารถอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลาง เลนส์หนึ่งในส่วนภายในและส่วนนอกที่ต้องการเลนส์ คอนแทคเลนส์บิ๊กอายจะอ่อน มีส่วนประกอบของวัสดุก๊าซ โดยตาของผู้สวมใส่จะเริ่มทยอยปรับตัวให้เข้าความแตกต่างของส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อตา ประสานงานกับการทำงานของเลนส์ แสงจะถูกหักเหในมุมของจอตา ความสามารถในการหักเหแสงที่แตกต่างอาจทำให้บางคนมีปัญหามากและปัญหาในการสวมใส่ ปัจจุบันบิ๊กอายจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข การผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย ต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบว่าได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือไม่ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรีบเข้าไปตรวจสอบ และจับกุมผู้ที่กระทำความผิด เพราะจำนวนผู้เข้ารับการรักษาที่มีลักษณะตาอักเสบจากการใส่บิ๊กอายเพิ่มมากขึ้น ในส่วนของนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการควรที่จะออกกฎระเบียบมาคุมเข้มในเรื่องของการใส่บิ๊กอาย หากเป็นบิ๊กอายที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ผู้ที่จะนำมาสวมใส่ควรที่จะรักษาความสะอาดให้ดี จะช่วยป้องกันตาติดเชื้อแบคทีเรียได้


บิ๊กอาย คอนแทคเลนส์
พิษบิ๊กอาย
1.พบว่ามีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วยอาการตาบวม เป็นสีแดงก่ำ ปวด และมีขี้ตาเป็นสีเขียวออกมาตลอดเวลา ทั้งเพศชายและหญิง ทุกรายเป็นวัยรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี เมื่อส่องกล้องพบว่ามีรอยขาวขุ่นอยู่ในตาดำ เป็นลักษณะของการเกิดแผลที่กระจกตาดำ ผู้ป่วยต้องเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยใน ผลจากการเก็บตัวอย่างส่งตรวจหาสาเหตุ พบว่า ตาติดเชื้อแบคทีเรียสูโดโมแนส แอรูจิโนซา ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สามารถกินทะลุกระจกตาดำภายใน 2 วัน หากรักษาไม่ทันอาจส่งผลให้ตาบอด หรือต้องควักลูกตาออก เพื่อไม่ให้ลามไปยังอวัยวะอื่น เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เข้าสู่กระแสเลือดได้ ในการรักษาตาติดเชื้อแบคทีเรียสูโดโมแนส แอรูจิโนซา ต้องใช้เวลานานและต้องให้ยาฆ่าเชื้อชนิดแรงทั้งแบบยาฉีดและยาหยอดตา

2.สาเหตุที่ทำให้ตาติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ เกิดจากการใส่คอนแทคเลนส์บิ๊กอาย ผู้ป่วยทุกรายมีประวัติใส่บิ๊กอายทั้งสิ้น โดยซื้อจากแผงลอยวางขายทั่วไปตามตลาดนัด สะพานพุทธ หรือย่านขายของวัยรุ่น สั่งซื้อจากอินเตอร์เน็ต หรือซื้อจากเพื่อนที่เป็นนายหน้าขายตรงด้วยการมีแคตตาล็อกแบบของบิ๊กอายให้ เลือกเป็นชนิดใส่รายปี ในราคาคู่ละ 300 บาท ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมใส่อย่างมากในกลุ่มพนักงานบริษัท หรือคนวัยทำงาน รวมทั้งนักเรียน นักศึกษาทั้งหญิงและชาย สวมใส่ตั้งแต่เรียนอยู่ในชั้นระดับมัธยมต้น

3.หนึ่งในผู้ป่วยตาติดเชื้อจนเกิดแผลที่กระจกตาดำ กล่าวว่า ใส่บิ๊กอายเนื่องจากเป็นคนสายตาสั้น เมื่อใส่แว่นจะรู้สึกเกะกะ และยอมรับว่าอยากสวย บวกกับเห็นเพื่อนใส่มานาน 2-3 ปี จึงตัดสินใจสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ตแบบรายปี คู่ละ 300 บาท ซึ่งตนจะบอกระยะสายตาที่สั้น เลือกแบบแล้วเพื่อนจะเป็นคนสั่งซื้อให้พร้อมจัดส่งถึงบ้าน เมื่อเริ่มเปลี่ยนเป็นคู่ที่ 2 ได้ราว 2-3 เดือน เริ่มมีอาการโดยเกิดการระคายเคืองตา จึงถอดบิ๊กอายออกและนอนหลับตามปกติ เมื่อตื่นขึ้นมา ตาแดง คิดว่าไม่เป็นไร เพราะเคยเป็นมาก่อน ทำให้ใส่บิ๊กอายกลับเข้าไปใหม่ แต่ทันทีที่เจอกับแสงแดด ปรากฏว่าตาสู้แสงไม่ได้ แสบตาและน้ำตาไหล ตาแดงก่ำมาก

4.ขณะที่ผู้ป่วยตาติดเชื้อจนเกิดแผลที่กระจกตาดำอีกรายอายุ 14 ปี บอกว่า ซื้อบิ๊กอายจากร้านแผงลอยย่านสะพานพุทธ ใช้ได้ 3-4 เดือนเริ่มเกิดอาการแสบตา และตาแดงมาก รู้สึกเหมือนมีอะไรขาวๆ อยู่ในตาตลอดเวลา เจ็บมาก

บิ๊กอาย คอนแทคเลนส์ แผลที่กระจกตา
แผลที่กระจกตาดำ
1.มักเกิดกับผู้ที่ละเลยกับการใส่ใจดูแลตัวเอง ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ พฤติกรรมการเปลี่ยนใส่คอนแทคเลนส์ เพียงแค่ลืมถอดคอนแทคเลนส์ก่อนนอน หรือเพียงแค่ลืมดูวันหมดอายุการใช้งานของคอนแทคเลนส์ การดูแลรักษาความสะอาดไม่เพียงพอ ก็อาจมีผลถึงกับทำให้ตาบอดได้

2.อาการของโรค ได้แก่ ปวดในตา ตาแดง น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ บีบตา ตามัว ตรวจพบกระจกตาขุ่น บวมและอักเสบ

3.การเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้กระจกตาเปลี่ยนสภาพ เกิดเป็นต้อหิน ต้อกระจก มักเป็นในรายที่ได้ยาขนาดเข้มข้นนานๆ บางรายกระจกตาบางลงและทะลุ อาจเกิดการติดเชื้อลุกลามเข้าลูกตา

4.ระดับของแผลที่กระจกตาชนิดเล็กน้อย แผลมีขนาดน้อยกว่า 2 มม. ความลึกของแผลน้อยกว่า 20% ของความหนาของกระจกตา

5.แผลระดับปานกลางขนาด 2-5 มม. ความลึกของแผล 20-50% ของความหนาของกระจกตา

6.แผลรุนแรงขนาดใหญ่กว่า 5 มม. ความลึกของแผลมากกว่า 50% ของความหนาของกระจกตา

บิ๊กอาย คอนแทคเลนส์ ตาติดเชื้อแบคทีเรีย
ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรค
1.ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ผิดวิธี ใส่คอนแทคเลนส์ที่หมดอายุ ใส่คอนแทคเลนส์ขณะนอนหลับ กระจกตาต้องการออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยง เมื่อมีคอนแทคเลนส์ขวางอยู่ ทำให้ออกซีเจนไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงกระจกตาได้ การไม่ล้างกล่องใส่คอนแทคเลนส์และคอนแทคเลนส์ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค เมื่อใส่คอนแทคเลนส์ที่มีเชื้อโรคสะสมอยู่ ทำให้เชื้อโรคที่สัมผัสกระจกตาปล่อยสารที่มีฤทธิ์ย่อยเยื่อกระจกตา เป็นสาเหตุของโรคกระจกตาเปือย

2.บางรายอาจเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดแผลที่ดวงตา แผลที่กระจกตาเป็นภาวะที่กระจกตาอักเสบเป็นแผล ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตาบอด พบเป็นอันดับสองรองจากต้อกระจก โดยการติดเชื้อที่กระจกตาทำให้มีแผลเป็นและมีฝ้าขาวที่กระจกตา การมองเห็นลดลงสายตาเลือนลาง และตาบอดได้ในบางราย ซึ่งสาเหตุเกิดได้จากทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส ปรสิต หรืออาจมีประวัติจากการเกิดอุบัติเหตุที่ตามาก่อนหรือไม่ก็ได้

3.การใส่คอนแทกเลนส์ติดต่อกันหลายวัน โดยไม่ได้ล้างทำความสะอาด ทำให้เชื้อโรคที่สัมผัสกระจกตาอยู่ ปล่อยสารออกฤทธิ์ย่อยเยื่อกระจกตาไปเรื่อยๆ ยิ่งเสี่ยงต่อโรคกระจกตาเปือย ซึ่งรุนแรงถึงขั้นตาบอดในชั่วข้ามคืนได้


การรักษา
  1. เริ่มให้ยาให้เร็วที่สุด หลังจากการวิเคราะห์การเพาะเชื้อของแผล และให้ยาที่ครอบคลุมเชื้อหลายชนิดก่อน และเมื่อทราบเชื้อ จึงเปลี่ยนหรือปรับยาที่เฉพาะต่อเชื้อที่สุดด
  2. การให้ยาจะประกอบด้วยยาปฏิชีวนะ ให้ตามกลุ่มที่พบเชื้อจากการย้อมสี ถ้าไม่พบเชื้อ ควรให้ยาที่มีฤทธิ์กว้าง เช่น Cefazolin Ceftazidime ร่วมกับ Tobramycin หรือ Gentamicin หรือใช้ยาตัวเดียว เช่น Ciprofloxacin
  3. การหยอดตาควรหยอดบ่อยๆ ทุก 5-15 นาที ในชั่วโมงแรก โดยเว้น 5 นาที ถ้าใช้ยาตัวอื่นด้วยเพื่อเพิ่มปริมาณยาให้ถึงระดับเร็วๆ หรืออาจหยอดทุก 1 นาที เป็นวลา 5 นาที และซ้ำแบบนี้ทุก 30 นาที แล้วจึงห่างเป็นทุก 30-60 นาทีต่อไป


ข้อแนะนำการใส่คอนแทคเลนส์
  1. คอนแทคเลนส์ตาโตสีๆที่ขายทั่วไป อาจทำให้เราเห็นไม่ชัด เนื่องจากเส้นสีของเลนส์อาจขยับบังการมองเห็นของเรา ตัวเลนส์หนา ทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ส่งผลให้ตาแห้ง
  2. ล้างและถูตัวเลนส์ก่อนเก็บและก่อนใส่ทุกครั้ง วิธีล้างคือเทน้ำยาลงที่ตัวเลนส์ ถูเลนส์ เทน้ำยาทิ้ง ทำแบบนี้สัก 2-3 ครั้ง เพื่อเอาคราบโปรตีนและสิ่งสกปรกออก
  3. หมั่นเปลี่ยนน้ำยาที่แช่เลนส์บ่อยๆ เพราะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
  4. คอนแทคเลนส์รายเดือนดีกว่ารายปี ยิ่งใส่นาน เชื้อโรคยิ่งสะสมมาก
  5. อย่าใส่ติดต่อกันนานจนเกินไปประมาณ 12 ชม. ก็ควรถอดและเปลี่ยนมาใส่แว่นแทนบ้าง เพื่อเป็นการให้ตาได้ถ่ายเทออกซิเจนได้สะดวก
  6. หากนั้งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน ให้ละสายตามองออกไปข้างนอกบ้าง
  7. คอนแทคเลนส์ตาโตคุณภาพไม่ดีเท่าคอนเทคเลนส์ทั่วไป
  8. กระพริบตาหรือหลับตาบ่อบๆ ตาจะได้ไม่แห้ง

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
www.bangkokhealth.com/index.php/eyes/3685-Big-Eyes.html

12 เม.ย. 2555

8 ข้อแนะนำการใส่คอนแทคเลนส์

โดย นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
(www.bangkokhealth.com/index.php/eyes/3685-Big-Eyes.html)

1.คอนแทคเลนส์ตาโตสีๆที่ขายทั่วไป อาจทำให้เราเห็นไม่ชัด เนื่องจากเส้นสีของเลนส์อาจขยับบังการมองเห็นของเรา ตัวเลนส์หนา ทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ส่งผลให้ตาแห้ง
2.ล้างและถูตัวเลนส์ก่อนเก็บและก่อนใส่ทุกครั้ง วิธีล้างคือเทน้ำยาลงที่ตัวเลนส์ ถูเลนส์ เทน้ำยาทิ้ง ทำแบบนี้สัก 2-3 ครั้ง เพื่อเอาคราบโปรตีนและสิ่งสกปรกออก
3.หมั่นเปลี่ยนน้ำยาที่แช่เลนส์บ่อยๆ เพราะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค




4.คอนแทคเลนส์รายเดือนดีกว่ารายปี ยิ่งใส่นาน เชื้อโรคยิ่งสะสมมาก
5.อย่าใส่ติดต่อกันนานจนเกินไปประมาณ 12 ชม. ก็ควรถอดและเปลี่ยนมาใส่แว่นแทนบ้าง เพื่อเป็นการให้ตาได้ถ่ายเทออกซิเจนได้สะดวก
6.หากนั้งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน ให้ละสายตามองออกไปข้างนอกบ้าง
7.คอนแทคเลนส์ตาโตคุณภาพไม่ดีเท่าคอนเทคเลนส์ทั่วไป
8.กระพริบตาหรือหลับตาบ่อบๆ ตาจะได้ไม่แห้ง

8 เม.ย. 2555

'อะแคนทะมีบา' ภัย "คอนแทคเลนส์"

ปัจจุบันหลายๆคนหันมาให้ความสำคัญกับตัวตามากขึ้น เพราะดวงตาขึ้นชื่อว่า เป็น หน้าต่างที่ทำให้เราได้มองเห็นโลกกว้าง ฉะนั้นหากไม่ดูแลรักษาให้ดี ก็อาจทำให้เราก้าวเข้าสู่โลกมืดได้โดยไม่รู้ตัว หากแต่มีหลายคนกำลังเสี่ยงต่อการมีปัญหาความผิดปกติทางสายตารุนแรงโดยไม่รู้ตัว ซึ่งนั่นก็คือกลุ่มผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ ที่ส่วนใหญ่มักละเลยรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ และข้อควรปฎิบัติโดยไม่รู้ตัว ซึ่งนั้นก็เหมือนเป็นการเปิดประตูต้อนรับสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่มองไม่เห็นอย่าง “อะแคนทะมีบา” เข้ามารุกรานและทำอันตรายต่อดวงตา

ศ.พญ.พนิดา โกสียรักษ์วงศ์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า "อะแคนทะมีบา เป็นโปรตัวซัวแบบเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ในน้ำและดิน มีช่วงชีวิต 2 แบบ คือ

  • แบบ “ซีสต์” มีขนาด 10-25 ไมครอน เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เพียงแต่จะฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ
  • แบบ “โทรโฟซอยต์” ที่เคลื่อนไหว มีขนาด 15-45 ไมครอน จะเปลี่ยนรูปร่างจาก “ซีสต์” มีฤทธิ์ทำลายดวงตา

อย่างไรก็ตาม เชื้ออะแคนทะมีบา ทั้ง 2 แบบ สามารถทนทานอยู่ได้นานในสิ่งแวดล้อมทุกรูปแบบ เช่น หนาวจัด ร้อนจัด แห้งแล้ง ขาดอาหาร สระว่ายน้ำที่ใส่คลอรีน หรือแม้แต่บ่อน้ำร้อน

เกี่ยวข้องอย่างไรกับคนใส่คอนแทคเลนส์?
ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ในคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ สามารถพบกระจกตาอักเสบเนื่องจากติดเชื้ออะแคนทะมีบาได้ โดยส่งผลทำให้เกิดอาการ ดังนี้ ปวดตามาก สู้แสงไม่ได้ กระจกตาขุ่น ฝ้า เป็นแผลอักเสบที่กระจกตา ในบางรายดูคล้ายอักเสบเนื่องจากติดเชื้อไวรัสเริม

เมื่อเป็นแล้วจะรักษาได้อย่างไร ?
ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ในส่วนของการรักษา โดยทั่วไปจะต้องหยอดตาด้วยยาฆ่าเชื้อนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องผสมจากน้ำยาบางชนิดที่ไม่มีขายในท้องตลาด โดยจะต้องหยอดตาบ่อย ๆ เป็นเวลานานหลายเดือน หรืออาจเป็นปี และเฝ้าติดตามดูอาการเป็นระยะ ๆ นานหลายปี เนื่องจากเชื้ออะแคนทะมีบาสามารถมีชีวิตอยู่ในรูปแบบของซีสต์ได้นานหลายสิบปี ดังนั้นเมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอหรือมีเชื้อโรคที่ไปเป็นอาหารชั้นดีของเชื้ออะแคนทะมีบา ซีสต์ดังกล่าวก็จะแปลงร่างเป็นโทรโฟซอยต์ทำให้ดวงตาอักเสบทันที


จะป้องกันอย่างไรไม่ให้ติดเชื้อ?
  1. ล้างมือทำความสะอาดโดยการฟอกสบู่หลาย ๆ ครั้ง ก่อนหยิบจับคอนแทคเลนส์
  2. น้ำยาทำความสะอาดล้างเลนส์ ควรใช้ให้หมดภายใน 1 เดือน ไม่เก่าเก็บเกิน 2 เดือนหลังจากเปิดใช้แล้ว
  3. ขัดถูล้างเลนส์ทั้ง 2 ด้านเป็นเวลาพอสมควร ตลอดจนล้างขัดถูตลับแช่เลนส์ให้สะอาดทุกครั้งก่อนใส่น้ำยาแช่เลนส์ที่เปลี่ยนใหม่ทุกวัน เพราะโรคนี้มักพบในคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มบ่อยกว่าชนิดแข็ง โดยเฉพาะไม่ล้างทำความสะอาดเลนส์ทุกวันหรือใส่นอน
  4. ควรนำตลับแช่เลนส์อบไมโครเวฟทุก 2-3 สัปดาห์ และเปลี่ยนตลับใหม่ทุก 2-3 เดือน เนื่องจากเชื้อโรคนี้อยู่ทนทาน

หากคุณมีอาการหรือพฤติกรรมต่อไปนี้ อย่าใส่คอนแทคเลนส์เด็ดขาด
  1. เปลือกตาอักเสบ
  2. ตาแห้ง
  3. เป็นโรคภูมิแพ้
  4. ไม่มีเวลาดูแลล้างทำความสะอาดคอนแทคเลนส์
เนื่องจากเชื้ออะแคนทะมีบา เป็นสาเหตุสำคัญของอาการกระจกตาอักเสบ และยังส่งผลให้เกิดแผลที่ดวงดา ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ มีความอดทนต่อยาที่ใช้รักษาทุกชนิด ทำให้ต้องหยอดยาเป็นเวลานาน และในบางรายอาจไม่ตอบสนองต่อยา เป็นผลให้เชื้ออาจมีการลุกลามไปทั่วทั้งกระจกตา จนเกิดอาการอักเสบทั้งลูกตาได้

การรักษาต้องหยอดยาเป็นเวลานาน ถ้ามีอาการอักเสบมาก จักษุแพทย์จะทำการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาให้ แต่ก็สามารถกลับมามีเชื้อชนิดนี้ได้อีก จึงต้องเฝ้าติดตามดูอาการเป็นเวลานาน และในบางรายอาจมีอาการหนักถึงขั้นที่ต้องได้รับการผ่าตัดเอาลูกตาออกในที่สุดแม้ว่าจะผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาแล้วก็ตาม เนื่องจากสามารถกลับมามีเชื้อชนิดนี้ได้อีก ดังนั้น การใส่คอนแทคเลนส์แล้วปฏิบัติตัวไม่ถูกวิธี มีสิทธิติดเชื้อจนตาบอดได้ ยิ่งเห่อใส่ตามแฟชั่น ยิ่งต้องควรระวังมากกว่าปกติ เพราะหากดูแลดวงตาและรักษาคอนแทคเลนส์ไม่ถูกวิธี อาจมีเชื้อโรคเข้าสู่ดวงตาได้ง่าย หรือแค่ฝุ่นละอองปลิวเข้าตา ก็อาจพาเชื้อ “อะแคนทะมีบา” เข้าไปได้ด้วยเหมือนกัน ส่วนผู้ที่ไม่มีเวลาทำความสะอาดล้างเลนส์ แนะนำให้ใส่ชนิดรายวันแล้วทิ้ง หรือเปลี่ยนเป็นใส่แว่นตาจะปลอดภัยกว่า เพื่อให้ดวงตาคู่สวยของคุณมองเห็นโลกสดใสและจะอยู่คู่ชีวิตคุณได้ตลอดไป

7 เม.ย. 2555

วิธีใส่บิ๊กอาย และวิธีถอดบิ๊กอาย อย่างง่ายๆ

วิธีใส่บิ๊กอาย
  1. ล้างมือให้สะอาด
  2. นำบิ๊กอายวางหงายบนนิ้วชี้ข้างขวา สังเกตว่ามันไม่กลับด้าน
  3. ใช้มือซ้ายแหวกเปลือกตาออก จากนั้นค่อยๆ แตะบิ๊กอายลงที่ตาดำ รอให้แนบสนิท
  4. กะพริบตาถี่ๆ ให้บิ๊กอายแนบสนิทกับดวงตา
  5. ถ้าบิ๊กอายหลุดมือตกพื้น ต้องเอาแช่น้ำยาทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง

วิธีถอดบิ๊กอาย
  1. ล้างมือให้สะอาด
  2. ก้มหน้าเล็กน้อย ใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางค่อยๆ คีบบิ๊กอายออกจากดวงตา
  3. ใช้น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ล้างคอนแทคเลนส์ให้สะอาด โดยใช้นิ้วถูเพื่อล้างคราบโปรตีน
  4. แช่คอนแทคเลนส์ในตลับที่สะอาด



How to Put in and Remove Contact Lenses
วิธีใส่และวิธีถอดคอนแทคเลนส์

6 เม.ย. 2555

อันตรายจากบิ๊กอาย โรคกระจกตาเสื่อม

ดวงตาปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นอวัยวะอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญ ในชีวิตของคนมีตาปกติต้องใช้งานดวงตาทุกวี่วันไม่มีหยุด นอกเสียจากตอนนอนหลับ หรือหลับตาเพื่อพักสายตาเพียงชั่วครู่ เมื่อดวงตาเป็นอวัยวะที่มีบทบาทสำคัญถึงเพียงนี้ หากใช้แล้วไม่รู้จักพัก ดูแลไม่ดี ‘มุมสุขภาพ’ ต้องขอเตือนให้ระวัง ‘โรคกระจกตาเสื่อม’ ที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์ไม่ถูกวิธี เป็นโรคตาแห้ง และมีโรคประจำตัวที่ทำให้ต่อมน้ำตาแห้ง

อาการเตือนก็จะมีตั้งแต่แสบตา คันตา รู้สึกเจ็บตา เป็นตาแดงบ่อยๆ เห็นรอยเส้นเลือดฝอยสีแดงขึ้นในตาขาว ตาพร่ามัว เหล่านี้เป็นอาการของปัญหาตาแห้ง ส่วนผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์อย่างไม่ถูกต้อง เช่น ใช้งานเกินอายุคอนแทคเลนส์ ใส่ค้างไว้นานเกิน 8-10 ชั่วโมง หรือใส่นอน ไม่ค่อยล้างทำความสะอาดคอนแทคเลนส์และกล่องเก็บ พฤติกรรมดังกล่าวมักจะนำอาการเจ็บตา มีเยื่อเมือกสีขาวปกคลุมทั้งตาขาวและตาดำ

สาเหตุที่การใช้คอนแทคเลนส์อย่างผิดๆ ทำให้กระจกตาเปื่อยได้ก็เพราะ การใส่คอนแทคเลนส์ที่สกปรกอาจนำฝุ่นผงเข้าไปทำลายกระจกตาให้เป็นแผลถลอก และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อบักเตรี ชื่อ สูโดโมแนส แอโรจิโนซา เป็นแบคทีเรียที่เกิดขึ้นในที่เปียกชื้น ดังนั้นการนำคอนแทคเลนส์ที่มีเชื้อดังกล่าวมาใส่ จึงเป็นโอกาสให้เพาะพันธุ์เต็มดวงตาและทำลายกระจกเมื่อมีแผลเปิด ส่วนสาเหตุอาการตาแห้งแล้วกระจกตาเปื่อยได้ เนื่องจากดวงตาที่มีสภาพแห้งจะทำให้กระจกตาไม่แข็งแรง เกิดการแยก หรือการถลอก จนทำให้เกิดแผล และเป็นทางเข้าของเชื้อโรค ในที่สุดกระตกก็จะเปื่อย

โรคกระจกตาเปื่อย หากเป็นในระดับรุนแรงจะมีหนองที่ดวงตา ยิ่งถ้าหนองขึ้นเต็มดวงตา จักษุแพทย์อาจต้องผ่าตัดควักดวงตาออกเพื่อป้องกันมิให้เชื้อแบคทีเรียชนิด ดังกล่าวลุกลามไปยังสมองหรืออวัยวะอื่นๆ ทว่าอาการที่ไม่รุนแรงก็ยังพอรักษาด้วยยาได้ ไม่อยากเป็นโรคกระจกตาเปื่อย ต้องไม่ขาดวิตามินเอ ที่มีสรรพคุณบำรุงสายตา มีมากในผักและผลไม้สีเขียว ผู้ที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือทำงานในที่มีแสงสว่างน้อย ต้องหมั่นพักสายตาทุกๆ 1 ชั่วโมง กรณีที่สงสัยว่า ตนเองมีอาการตาแห้งเกิดขึ้นบ่อยๆ ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อวัดปริมาณน้ำตา ถือเป็นการป้องกันโรคกระจกตาเสื่อมได้

ที่มา : ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=457&contentID=148914

5 เม.ย. 2555

โรคกระจกตาเปื่อย ภัยร้ายใกล้ตัวคนใส่คอนแทคเลนส์

โรคกระจกตาเปื่อยอาจเกิดได้กับคนที่ไม่ได้ใส่คอนแทคเลนส์ หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดแผลที่ดวงตา แต่กลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุดก็คือ กลุ่มคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ผิดวิธี ตัวอย่างการใช้คอนแทคเลนส์ผิดวิธีคือ การใส่คอนแทคเลนส์ที่หมดอายุ เช่น คุณอาจลองใส่แล้วก็พบว่า ใส่แล้วก็ยังมองเห็นชัดอยู่ อีกทั้งนานๆถึงใส่ซักครั้ง หากใครเคยมีความคิดแบบบข้างต้น คุณกำลังใส่คอนแทคเลนส์แบบผิดวิธี เพราะคอนแทคเลนส์เมื่อเปิดใช้แล้ว อายุของมันจะมีกำหนด เช่น คอนแทคเลนส์แบบรายปี คอนแทคเลนส์รายเดือน และ คอนแทคเลนส์แบบรายวัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทคอนแทคเลนส์ที่คุณเลือกใช้

ข้อห้ามสำคัญอีกประกาศหนึ่ง ที่คนส่วนใหญ่อาจละเลย จะด้วยเหตุผลอันใดก็ตามถือว่า คุณมีความเสี่ยงมาก คือการใส่คอนแทคเลนส์ขณะนอนหลับ ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะกระจกตาต้องการออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยง เมื่อมีคอนแทคเลนส์ขวางอยู่ ทำให้ออกซีเจนไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงกระจกตาได้ ยิ่งถ้าใส่คอนแทคเลนส์ติดต่อกันหลายวัน โดยที่ไม่มีการล้างทำความสะอาด โดยเฉพาะกล่องใส่คอนแทคเลนส์ ซึ่งทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค เมื่อใส่คอนแทกเลนส์ที่มีเชื้อโรคสะสมอยู่ ทำให้เชื้อโรคที่สัมผัสกระจกตา ปล่อยสารที่มีฤทธิ์ย่อยเยื่อกระจกตาไปเรื่อย ๆ อันเป็นอีกสาเหตุของโรคกระจกตาเปือย ซึ่งรุนแรงถึงขั้นตาบอดในชั่วข้ามคืนได้

รายการอโรคา ปาร์ตี้ ตอนโรคกระจกตาเปื่อย โดย พญ.อรวรรณ จิตต์พูลกุศล
แพทย์ศูนย์โรคตา โรงพยาบาลพญาไท 3

3 เม.ย. 2555

วิธีถนอมสายตา หากต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ

ในยุคที่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ไม่ว่าจะโดยงาน หรือกิจวัตส่วนตัวคนที่ต้องนั่งแต่อยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆแทบทุกคนจะต้องมีอาการปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า หรืออาการทางสายตาอื่นๆ กันบ้าง ปัจจุบันอาการทางสายตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์มีเพิ่มขึ้น จากสถิติพบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากกว่า 50% มีอาการปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า และปวดศรีษะ รวมทั้งมีอาการอื่นๆ เช่น ปวดเหมื่อยคอและหลัง ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน และยังมีตัวแปรอีกหลายประการที่ทำร้ายสายตาของเรา เช่น ชนิดของจอคอมพิวเตอร์ แสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ ความสว่างของห้อง ท่านั่ง ฯลฯ

วิธีถนอมสายตา ใช้คอมพิวเตอร์ทุกวัน
วิธีถนอมสายตาเวลาใช้คอมพิวเตอร์
1. กระพริบตาให้ถี่ขึ้น อาการ ตาแห้ง เกิดจากการที่เรากระพริบตาน้อยลง เนื่องจากมีสมาธิขณะทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อัตราการกระพริบตาจะลดลงจาก 20 - 22 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 6 - 8 ครั้งต่อนาที ถ้าไม่อยากตาแห้ง ควรจะกระพริบตาให้ถี่ขึ้น หรืออาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น

2. จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม
ให้ บริเวณหน้าต่างอยู่ทางด้านข้างของจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดแสงตกสะท้อนบนหน้าจอ ควรจัดให้มีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50 - 70 ซ.ม. จัดระดับจอภาพจากจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 4 - 9 นิ้ว ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป

3. ปรับความสว่างของห้อง
ควร ปิดไฟบางดวงที่ทำการรบกวนการทำงาน เพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความ สว่างที่มากเกินไป ถ้ามีแสงจ้าจากหน้าต่าง ควรใช้มูลี่เพื่อปรับแสงให้ผ่านได้เพียงบางส่วน และไม่เข้าตาโดยตรง หลีกเลี่ยงการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีผิวสะท้อน เช่น โต๊ะสีขาว ควรใช้วัสดุที่มีผิวด้าน ที่สะท้อนแสงไม่มากจะดีกว่า

4. เลือกใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ เวลา พิมพ์งาน
ควรเลือกใช้ขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่พอ และปรับความเข้มของตัวอักษรให้มากขึ้น ซึ่งขนาดตัวอักษรและความเข้มที่เหมาะสมจะสังเกตได้จากการที่เราอ่านตัวอักษร ได้ในระยะห่างเป็น 3 เท่าของระยะที่นั่งทำงาน หรือเลือกใช้จอคอมพวิเตอร์ชนิด LCD (จอแบน) ซึ่งจะช่วยถนอนสายตาได้ดีกว่าจอแบบเก่า (CRT)

5. เลือกใช้แว่นที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์
ควรเลือกใช้เลนส์สีเขียวอ่อน ที่ช่วยให้สบายตาภายใต้แสงจากหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ และเพื่อลดแสงสะท้อนจากจอภาพ โดยเลือกแว่นตาที่มีกำลังขยายสำหรับระยะ 50 - 70 ซ.ม. (ระยะกลาง) ซึ่งค่ากำลังของเลนส์ดังกล่าวจะแตกต่างจากเลนส์อ่านหนังสือ หรือเลนส์มองใกล้ทั่วไป

6. พักสายตา ทุกๆ ชั่วโมง
ควรเปลี่ยนอริยาบถ หรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อพักสายตาและป้องกันอาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็น เวลานาน

Loading

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More