แฟชั่น บิ๊กอาย

บิ๊กอาย กับ แฟชั่นในปัจจุบัน

เลนส์ตาโต เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดตาโต หรือที่วัยรุ่นเรียกกันว่า “บิ๊กอาย”จะเหมือนกับคอนแทคเลนส์แฟชั่นสมัยก่อนที่มีสีสันให้เลือกมากมาย แต่ที่แตกต่างคือ เลนส์สีบริเวณตรงกลางดวงตาจะเป็นเลนส์ใสปกติแต่บริเวณขอบเลนส์จะมีสีดำ ทำให้ขอบตาคุณดูชัดมากขึ้น มีราคาตั้งแต่ 450 – 2,000 บาท

ใส่บิ๊กอายตาติดเชื้อ

บิ๊กอายทำตาบอด ติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์เตือนวัยโจ๋

แพทย์เตือนอันตรายจากคอนแทกท์เลนส์ "บิ๊กอาย" หลังมีผู้ป่วยติดเชื้อสูโดโมแนสที่ตา ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาตัวแล้ว 4 ราย จักษุแพทย์ ระบุ เป็นแบคทีเรียร้ายแรงลามกินตาดำได้ภายใน 2 วัน รักษาไม่ทันถึงขั้นตาบอด ผู้ป่วยรับหาซื้อง่ายแม้กระทั่งตามตลาดนัด จี้ภาครัฐออกมาเข้มงวด เพราะจัดอยู่ในกลุ่ม เครื่องมือแพทย์ ต้องได้รับอนุญาตจาก อย.

เลดี้ กาก้า Lady Gaga ใส่บิ๊กอาย

เลดี้กาก้า นำเทรนบิ๊กอาย อเมริกาเตือน Big Eye เป็นอันตราย ผิดกฏหมายในอเมริกา

นับตั้งแต่กระแสความโด่งดังของ Music Video "Bad Romance" ของนักร้องสาวชาวอังกฤษ Lady Gaga ทำให้วัยรุ่นอเมริกันเริ่มนิยมใส่ Contact Lenses ที่เรียกว่า "Big Eye" กันเป็นจำนวนมาก จนหลายฝ่ายต้องออกมาเตือนในการใช้และการเลือกซื้อ เพราะวัยรุ่นจำนวนมากนิยมสั่งซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต จากร้านค้าออนไลน์ในแถบเอเชีย...

บิ๊กอาย คอนแทคเลนส์ปลอม

อันตรายจากการใช้คอนแทคเลนส์แฟชั่น "บิ๊กอาย"

กระแสคอนแทคเลนส์แฟชั่นได้แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณต้นปี 2549 ที่ผ่านมา โดยวัยรุ่นไทยนิยมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพื่อให้ตา กลมโตเลียนแบบดาราเกาหลี และญี่ปุ่น คอนแทคเลนส์แฟชั่นดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีในนาม บิ๊กอายส์ หรือ คอนแทคเลนส์ตาโต ราคาก็มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน ระยะเวลาการใช้งานก็มีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ 1 เดือนไปจนถึง 1 ปี

30 มี.ค. 2555

[บทความ] บิ๊กอาย อันตรายถึงตาบอด

คงปฏิเสธไม่ได้ถึงแฟชั่นยอดฮิต....บิ๊กอายที่แพร่หลายอยู่ในหมู่วัยรุ่นและวัยทำงาน ด้วยความที่หาซื้อได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นทางร้านค้าออนไลน์หรือแม้แต่ตามตลาดนัดทั่วไป อันที่จริงแล้วบิ๊กอายเป็นคอนแทกเลนส์แฟชั่น ใส่แล้วทำให้ตาดำดูใหญ่ขึ้น แถมยังมีลูกเล่นสีและลวดลายต่างๆ ตามเทรนด์เกาหลี และที่สำคัญราคายังไม่แพงอีกด้วย ซึ่งจริงๆแล้วผลิตภัณฑ์นี้จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องมือแพทย์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น การผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย จึงจำเป็นจะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อนเท่านั้น


ในระยะที่ผ่านมามีข่าวผู้ป่วยติดเชื้อที่ตาเนื่องจากการใช้บิ๊กอายหลายราย เชื้อที่เป็นสาเหตุ คือ ซูโดโมแนส ออรูจิโนซ่า (Pseudomonas aeruginosa) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไป เชื้อนี้เป็นสาเหตุสำคัญอันดับแรกของการติดเชื้อที่กระจกตาในผู้ใช้คอนแทกเลนส์ นั่นหมายความว่า ไม่ใช่แค่คนที่ใช้บิ๊กอายเท่านั้นแต่หมายรวมถึงคนใช้คอนแทกเลนส์ทั่วไปด้วย หากยังจำกันได้ เชื้อชนิดเดียวกันนี้เคยเป็นข่าวมาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นกรณีของนางงามชาวบราซิลวัย 20 ปี ที่ติดเชื้อแบคทีเรียตัวเดียวกันนี้ที่กระเพาะปัสสาวะในขณะอยู่โรงพยาบาล ภายหลังเข้ารับการรักษาผ่าตัดนิ่วที่ไต ซึ่งในที่สุดคณะแพทย์ต้องตัดมือและเท้าทั้ง 2 ข้างออกเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวเข้าสู่กระแสเลือด และได้เสียชีวิตลงอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียงเดือนเศษเท่านั้น หรือในประเทศไทยเองก็เกิดเป็นข่าวดังจากการติดเชื้อดังกล่าวที่กระจกตาเมื่อมารับการผ่าตัดในโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยบางรายถึงขั้นตาบอด

ทำไมเชื้อชนิดเดียวกันนี้จึงก่อให้เกิดโรคในลักษณะที่แตกต่างกันได้หลายโรค ?????????คำตอบนั้นอยู่ที่ตัวเชื้อนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบที่จัดเป็นเชื้อประเภทฉวยโอกาส นั่นหมายความว่า เชื้อนี้มักไม่ก่อโรคในคนที่มีสุขภาพดี แต่มักพบในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งรวมไปถึงผู้ป่วยที่อยู่ในอาการโคม่าหรือผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล แบคทีเรียชนิดนี้สามารถแพร่กระจายและก่อโรคได้หลายระบบ อาทิเช่น การติดเชื้อที่กระจกตา ระบบประสาทส่วนกลาง เยื้อหุ้มหัวใจ ปอด ผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน ทางเดินปัสสาวะ ปัญหาสำคัญของเชื้อนี้ คือ มักก่อให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เชื้อตัวยังมีความสามารถในการดื้อยาสูงและเชื้อบางสายพันธุ์ของกลุ่มนี้สามารถดื้อยาหลายขนาน หรือที่รู้จักกันว่า Multi-Drug Resistance (MDR)

สำหรับการติดเชื้อที่กระจกตาจากการใช้คอนแทคเลนส์นั้น ดังที่กล่าวแล้วไม่ใช่แต่เพียงผู้ใช้บิ๊กอายเท่านั้น แต่หมายรวมถึงคอนแทกเลนส์ทั่วไปด้วย สิ่งที่ต้องระวังก็คือ บิ๊กอายที่นำเข้ามาโดยไม่ถูกกฎหมาย ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ยิ่งตัวเลนส์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าตาดำของชาวเอเชียแล้ว ยิ่งอาจก่อความระคายเคืองเกิดรอยถลอก ทำให้โอกาสที่เชื้อผ่านชั้น เยื่อบุผิวตาดำ ไปสู่กระจกตามีมากยิ่งขึ้น เชื้อนี้ยังสามารถสร้างเอนไซม์หลายชนิด เช่น เอ็นไซม์ที่ใช้ย่อยโปรตีนซึ่งสามารถทำลายเยื่อบุผิวตาดำได้ นอกจากนี้ยังมีอาวุธประจำกายอื่นๆ ที่หลากหลายในการทำลายเนื้อเยื่อ ซึ่งอาจจัดแบ่งออกได้เป็นดังนี้
  1. การเข้าเกาะติดเนื้อเยื่อและทวีจำนวนเชื้อ
  2. การเข้าบุกรุกทำลายเซลล์
  3. สร้างเอนไซม์และท็อกซินที่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อ

เชื้อนี้ยังมีความสามารถในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ผลิตสารที่ทำลายกระจกตาได้ นอกจากนี้ยังกระตุ้นตัวรับ (receptor) เยื่อบุผิวตาดำให้จับตัวเชื้อแล้วกระตุ้นให้เซลล์สร้างสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ที่จะดึงดูดเซลล์เม็ดเลือดขาวเข้ามาที่กระจกตา เกิดการทำลาย เยื่อบุผิวตาดำ ก่อให้เกิดอันตรายจนอาจทำให้ตาบอดถาวรได้ ดังนั้น ก่อนเลือกใช้คอนแทกเลนส์ จึงควรตรวจสอบว่าผ่านการรับรองจากอย. หรือไม่ และควรดูแลทำความสะอาดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจุลินทรีย์อย่างสม่ำเสมอ

ที่มา : http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=36
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มัลลิกา ชมนาวัง

ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

29 มี.ค. 2555

3 ข้อ เตือนใจก่อนใส่บิ๊กอาย

อย.เตือน!! ก่อนใช้คอนแทคเลนส์ ควรปรึกษาจักษุแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงศึกษา วิธีการใช้ คำเตือน วิธีการเก็บรักษา ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวัง ที่สำคัญเลือกซื้อคอนแทคเลนส์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว โดยสังเกตได้จากเครื่องหมาย อย. บนฉลากกล่อง และควรสังเกตเดือน ปี ที่หมดอายุ ไม่ควรซื้อจากร้านค้า แผงลอยตามตลาด หรือศูนย์การค้า เพราะอาจเสี่ยงกับคอนแทคเลนส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงหากใช้ไม่ถูกวิธี อาจถึงขั้นตาบอดได้ จึงขอมอบ คาถา 3 ข้อ คือ

1. ใช้คอนแทคเลนส์ ที่ได้รับอนุญาตจาก อย.
2. ใช้อย่างถูกวิธี
3. รักษาความสะอาดอยู่เสมอ


นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า คอนแทคเลนส์ หรือเลนส์สัมผัสที่มีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เพื่อแก้ไขความผิดปกติของสายตาหรือเพื่อความสวยงาม จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องได้รับอนุญาตตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เลนส์สัมผัส ดังนั้น คอนแทคเลนส์หรือเลนส์สัมผัส บนฉลากหรือเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์นั้นจะต้องระบุ ชื่อสินค้า วัสดุที่ใช้ทำ ค่าพารามิเตอร์ (กำลังหักเห ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง รัศมีความโค้ง) เลขที่ใบอนุญาต ระยะเวลาการใช้งาน วิธีการใช้ วิธีการเก็บรักษา

สาววัยรุ่น ใส่บิ๊กอาย ตาโต แอ๊บแบ๊ว เกาหลี


คำเตือนโดยแสดงข้อความว่า..
'การใช้เลนส์สัมผัสควรได้รับ การสั่งใช้ และตรวจติดตามทุกปี โดยจักษุแพทย์หรือผู้ประกอบโรคศิลปโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์เท่านั้น' 'การใช้คอนแทคเลนส์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ที่ผิดวิธีมีความเสี่ยงต่อการอักเสบหรือการติดเชื้อของดวงตา อาจรุนแรงถึงขั้นเสียสายตาอย่างถาวรได้'

ข้อห้ามใช้โดยแสดงข้อความว่า..
'ห้ามใส่คอนแทคเลนส์สัมผัสนานเกินระยะเวลาใช้งานที่กำหนด' 'ห้ามใช้เลนส์สัมผัสร่วมกับบุคคลอื่น'
'ห้ามใส่เลนส์สัมผัสทุกชนิดเวลานอน ถึงแม้จะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม ควรถอดล้างทำความสะอาดทุกวัน'

รวมทั้งข้อควรระวังในการใช้ ทั้งนี้ ผู้ขายต้องขายเฉพาะคอนแทคเลนส์หรือเลนส์สัมผัสที่ได้รับอนุญาตจาก อย. และต้องดูแลให้มีฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ตามที่ได้รับอนุญาตไว้ รวมถึงการโฆษณาคอนแทคเลนส์หรือเลนส์สัมผัสใดๆ ต้องได้รับอนุญาตจาก อย. ก่อน

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ก่อนตัดสินใจใช้คอนแทคเลนส์ควรปรึกษาจักษุแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงศึกษาวิธีการใช้ วิธีการเก็บรักษา ระยะเวลาการใช้งาน คำเตือน ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวัง ที่สำคัญ เลือกซื้อคอนแทคเลนส์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว โดยสังเกตได้จากเครื่องหมาย อย. บนฉลากกล่อง และควรสังเกตเดือน ปี ที่หมดอายุ ไม่ควรซื้อคอนแทคเลนส์จากร้านค้า แผงลอยตามตลาด หรือศูนย์การค้า เพราะอาจได้รับอันตรายจากการใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และก่อนการใช้ควรอ่านฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ให้เข้าใจเสียก่อน เพราะหากใช้ไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดการแพ้ ติดเชื้อ กระจกตาเป็นแผล จนถึงขั้นตาบอดได้ ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับผู้ใช้คอนแทคเลนส์ คือ การรักษาความสะอาดอย่างไม่ถูกต้อง ทั้งการล้าง แช่ และเก็บรักษา ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียอันตรายถึงขั้นทำให้ตาบอดได้เช่นกัน


อันตรายจากการใส่ บิ๊กอาย

ดังนั้น เพื่อการใช้คอนแทคเลนส์อย่างปลอดภัย อย.จึงขอมอบคาถา 3 ข้อ คือ
1. ใช้คอนแทคเลนส์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย.
2. ใช้อย่างถูกวิธี
3. รักษาความสะอาดอยู่เสมอ

ที่มาจาก : กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค อย.

27 ส.ค. 2554

วิธีเลือกน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์

อย่างที่เราทราบกันดีนะคะว่าปัจจุบันนี้ น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์มีหลากหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้น้ำยาล้างชนิดใดก็ควรเลือกด้วยความระมัดระวังและเลือกให้เหมาะกับลักษณะการใช้งาน...

น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์
  1. เลือกใช้แบบล้าง แช่ และกำจัดคราบโปรตีนในขวดเดียวน้ำ ยาในรูปแบบนี้ไม่ค่อยมีปัญหาเวลาเข้าตา สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดีพอสมควร ปัญหาที่เกิดมักเกิดจากการที่น้ำยาประเภทนี้ล้างทำคราบโปรตีนติดแน่นได้ไม่ค่อยดีนัก ปัจจุบันมักมีการโฆษณาว่าน้ำยาประเภทนี้ไม่ต้องถูเลนส์ก็ล้างได้ดี ในความเป็นจริงแล้วการถูเลนส์ยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ เพื่อให้น้ำยาประเภทนี้ใช้งานได้ดีปัญหาอีกประการ คือ น้ำยานี้โดยมากจะเหลือคราบสกปรกไว้ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้ผู้ใช้เกิดการแพ้สารกันเชื้อโรคในน้ำยานั้น น้ำยาประเภทนี้ใช้ได้ดีที่สุดกับคอนแทคประเภทใส่แล้วทิ้ง
  2. เลือกใช้แบบล้าง แช่ และกำจัดคราบโปรตีนแยกขวดกัน พวกนี้ส่วนมากจะล้างได้ดีกว่า สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดีถึงดีมาก มักมียาเม็ดที่ให้แช่ไว้สำหรับล้างคราบโปรตีนทุกๆ เดือน ปกติแล้วน้ำยาชนิดนี้ใช้ได้ดีกับเลนส์ที่ใส่ประจำ เพราะล้างคราบโปรตีนได้ดี ข้อเสียคือ อาจมีอาการแพ้จากสารประกอบในน้ำยาได้ไม่ค่อยสะดวก แล้วถ้าล้างน้ำยาล้างออกไม่หมดก็จะทำให้ตาเจ็บ ตาแดง และอาจต้องไปพบแพทย์อีกด้วย
  3. เลือกใช้แบบ Hydrogen Peroxide กลุ่มน้ำยาในรูปแบบนี้มักแยกเป็น 2 ขวด ขวดแรกเป็นล้างเลนส์ก่อนฆ่าเชื้อ ขวดที่สองใช้ใส่ในขวดพิเศษพร้อมกับเลนส์ ส่วนมากอันนี้ต้องแช่ไว้ค้างคืน น้ำยาประเภทนี้ฆ่าเชื้อได้ดีมาก ใช้ได้กับคอนแทคเลนส์เกือบทุกชนิด แต่ไม่ค่อยสะดวกเพราะใช้เวลานานในขั้นตอนต่างๆ และเมื่อแช่เลนส์แล้วเอามาใช้ทันทีไม่ได้ จำเป็นต้องแช่ให้ครบกำหนดเวลา ถ้านำเลนส์ออกมาใส่ก่อนครบกำหนดเวลาก็อาจทำให้ตาเจ็บ ตาแดง ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
จำไว้ให้ขึ้นใจว่าควรให้ความสำคัญกับการเลือกน้ำยาล้างคอนเทคเลนส์ ให้เหมาะกับลักษณะการใช้งานคอนเทคเลนส์ของเราด้วย เพื่อที่ดวงตาของเราจะได้สวยใสและปลอดภัยยังไงล่ะ


ที่มา :  variety.teenee.com/foodforbrain/37740.html


บทความที่เกี่ยวข้อง

14 ส.ค. 2554

วิธีสังเกตความผิดปกติของดวงตา และแนวทางการรักษา

ผลแทรกซ้อนของคอนแทคเลนส์ที่มีได้ก็เสมอคือเรื่องการติดเชื้อ การติดเชื้อที่เกิดขึ้นจะรุนแรงกว่าตาแดงตาอักเสบทั่วไปที่ไม่มีคอนแทคเลนส์ เพราะว่าเชื้อมักจะเกาะอยู่ที่คอนแทคเลนส์และทำให้ภูมิคุ้มกันและยาเข้าไปไม่ถึง นอกจากนี้การติดเชื้่อก็มักจะมีเชื้อที่รุนแรงไม่เจอบ่อย


ใส่คอนแทคเลนส์ ตาผิดปกติ

การติดเชื้ออย่างเบาๆมีตั้งแต่ตาแดง กระจกตาอักเสบ แผลที่กระจกตา ไปจนถึงติดเชื้อเข้าไปในลูกตาซึ่งสองชนิดหลังสามารถทำให้ตาบอดได้เลยทีเดียว และที่เจอได้ต่อมาก็คืออาการตาแห้ง เจอได้บ่อยในผู้ป่วยที่ใช้คอนแทคเลนส์มานานๆหรือแพ้น้ำยาล้างหรือคอนแทคเลนส์ ผลข้างเคียงทั้งสองอย่างนี้เจอได้มากขึ้นหากว่าใช้ผิดวิธี เช่น ใส่นานเกินวันละ 8 ชั่วโมง ใส่แล้วนอนหลับค้างคืน หรือล้างน้ำยาได้ไม่สะอาดพอ , การใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่เหมาะสม เช่น ออกซิเจนผ่านน้อยไป เลือกขนาดความโค้งไม่เหมาะสม หากพบว่าใส่แล้วเกิดอาการเคืองตา ควรตรวจสอบว่าคอนแทคเลนส์ที่ใช้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมหรือไม่ ควรถอดออกแล้วพักการใช้เปลี่ยนไปใช้แว่นสายตาแทน หากตาแดง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่ามีแผลที่กระจกตาหรือไม่ เพราะแผลเหล่านี้ไม่สามารถสังเกตได้ง่ายๆด้วยการมองตาเปล่า

ผลข้างเคียงเหล่านี้สามารถพบได้ แม้ว่าจะใช้คอนแทคเลนส์ที่มีคุณภาพดีอย่างถูกต้องและปฏิบัติทุกวิธีอย่างเหมาะสม แต่ผลข้างเคียงจะเพิ่มขึ้นได้มากหากใช้คอนแทคเลนส์ที่คุณภาพไม่ดีหรือผิดวิธีได้แก่

  1. คอนแทคเลนส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน บางชนิดอาจจะมีสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตาได้ หลายครั้งพบว่าใส่ๆไปแล้วสีหลุดออกมาติดลูกตาเลยก็มี
  2. พวกคอนแทคเลนส์กลุ่มประดับ หลายตัวเป็นชนิดแข็งกว่าปกติ พวกนี้บาดระคายเคืองง่าย ออกซิเจนผ่านน้อย โอกาสเกิดการติดเชื้อสูงกว่าปกติอยู่แล้ว
  3. ในกลุ่มที่มีสีสรรแปลกๆ ต้องระวังเรื่องความร้อนไว้ด้วย เนื่องจากมีรายงานว่าถ้าหากใส่แล้วไปเจอความร้อนหรือเลเซอร์เวลารักษาสิว สีที่ปกติไม่หลุดออกมาก็สามารถหลุดออกมาได้ (เลนส์ไม่ละลาย แต่สีละลายหลุดมาติดกับลูกตาสีสรรสดใสและงดงาม)

ข้อมูลที่ควรรู้ก่อนซื้อคอนแทคเลนส์มาใช้

สิ่งหนึ่งที่คนเข้าใจผิดก็คือ แค่รู้ว่าสายตาเราสั้นยาวแค่ไหนก็เลือกซื้อได้ทันที แต่สิ่งหนึ่งที่คนหลายๆคนไม่ทราบก็คือ การเลือกคอนแทคเลนส์มีอีกข้อมูลที่สำคัญคือ ค่า BC

ค่า BC หรือ Base Curve Radius คือค่าความโค้งของคอนแทคเลนส์ด้านที่สัมผัสกับกระจกตาของเรา ค่า BC ที่น้อยเกินไปก็จะคับเกินไป ทำให้คอนแทคเลนส์ฟิตกับกระจกตาเกิน ใส่ไม่สบาย เกิดแผลที่กระจกตาได้ง่าย ส่วนค่า BC ที่มากเกินไปก็จะหลวมเกินไป ทำให้เกิดการเลื่อนจากตำแหน่งได้ง่าย

การเลือกซื้อ สิ่งที่ควรทำคือ รู้ค่าสายตาว่าสั้นยาวเอียงเท่าใด รู้ค่าBC จากนั้นค่อยเลือกชนิดของคอนแทคเลนส์หรือยี่ห้อที่ต้องการ (ถ้าร้านนั้นไม่มีชนิดที่เหมาะกับเราก็เปลี่ยนร้านไปหาร้านอื่นก่อน) บางคนบอกว่าคอนแทคเลนส์ที่มีในแต่ละรุ่นไม่ได้มีค่า BC และค่าสายตาครบทุกค่า บางยี่ห้อมีสายตาสั้นอย่างเดียว บางยี่ห้อมีไม่ถึงสายตาของเรา บางยี่ห้อมีความโค้งให้เลือกแค่ขนาดเดียวถ้าเป็นอย่างนั้นต้องตัดใจ ถ้ารุ่นนั้นยี่ห้อนั้นไม่มีอันที่เหมาะกับดวงตาของเรา เราก็ต้องไปเลือกรุ่นและยี่ห้ออื่นแทน

นอกจากนี้คนที่ขายต้องสอนวิธีการใช้ที่ถูกต้องทุกขั้นตอน ตั้งแต่การใส่ การระวังความสะอาด การใช้น้ำยาเพื่อทำความสะอาดเลนส์ (น้ำตาที่ใช้มีหลายชนิด) รวมทั้งการระวังสิ่งผิดปกติที่จะเกิดขึ้น และร้านไหนที่มีการวัดสายตา อย่าลืมถามหาค่า สายตาสั้นยาวและค่า BC จากเค้าด้วย เพื่อจะได้เอาไว้ใช้เลือกซื้อคอนแทคเลนส์ในภายหลัง ถ้าคนขายคนไหนไม่ทราบเรื่องค่า BCหรือบอกว่าอันไหนๆก็เหมือนกัน ก็ลองหันดูร้านอื่นดูหน่อยแล้วกัน เพื่อความปลอดภัยของดวงตาคุณเอง.. 

ชนิดของคอนแทคเลนส์กับเหตุผลในการใส่

ชนิดของคอนแทคเลนส์ที่พอแบ่งได้ก็คือ
1. กลุ่มใช้เพื่อทดแทนการใส่แว่นสายตา  พวกนี้เป็นกลุ่มที่ทำให้คนสายตาสั้นยาวใส่กันแทนการใส่แว่นตา ลักษณะจะใสไม่มีสี ส่วนมากแบ่งต่อกันลงไปเป็นชนิดย่อยๆตามเวลา
  • คอนแทคเลนส์ชนิดรายปี พวกนี้คือกลุ่มที่ใช้กันมาตั้งแต่อดีต มักจะแข็งกว่าแบบอื่น
  • คอนแทคเลนส์ชนิดรายเดือน
  • คอนแทคเลนส์ชนิดราย1-2สัปดาห์
  • คอนแทคเลนส์ชนิดรายวัน ใช้แล้วทิ้งเลยกันทีเดียว
นอกจากคอนแทคเลนส์ชนิดที่เป็นรายวันใช้แล้วทิ้ง ตัวอื่นๆต้องมีการทำความสะอาดที่ถูกต้องด้วยน้ำยาที่ถูกต้อง

2. กลุ่มใส่เพื่อเปลี่ยนรูปร่างลักษณะของตาดำ กลุ่มนี้มีหลายแบบ มีทั้งพวกที่เป็นสีสรรลวดลายต่างๆ และพวกที่เป็น BigEye (ไม่ว่าจะเป็นแบบเลนส์ปกติหรือเลนส์แบบ Plano)

ไม่ว่าจะเป็นแบบใดทั้งสองพวกนี้คุณสมบัติที่สำคัญตัวหนึ่งคือออกซิเจนต้องซึมผ่านได้ดี ซึ่งโดยปกติแล้วกลุ่มที่เป็นคอนแทคเลนส์แบบชนิดรายปี หรือในกลุ่มคอนแทคเลนส์สีสรรต่างๆจะมีความแข็งมากกว่า ออกซิเจนมักผ่านได้น้อยกว่า จากคุณสมบัติที่อากาศซึมผ่านได้น้อยกว่า เลยทำให้คอนแทคเลนส์ประเภทบิ๊กอาย (Bigeye) และคอนแทคเลนส์มีสี เสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงมากขึ้นโดยตัวของมันเอง


บทความที่เกี่ยวข้อง

17 พ.ค. 2554

คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งและนิ่ม

คอนแทคเลนส์ เป็นเลนส์สัมผัสที่ใช้แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสายตา โดยการวางไว้บนกระจกตาและครอบคลุมถึงตาขาวบางส่วน คอนแทคเลนส์มีรูปร่างลักษณะคล้ายหอยเชลล์ ทำจากกระจก, พลาสติก, กระจกผสมพลาสติก, ซิลิโคนและซิลิโคนผสมพลาสติก
โดยทั่วไปคอนแทคเลนส์จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
Hard Contact Lens คือคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง คือ คอนแทคเลนส์มีลักษณะแข็งไม่มีความยืดหยุ่น
คอนแทคเลนส์มีขนาดเล็กว่าตาดำ วางอยู่บนกระจกตาเท่านั้น คอนแทคเลนส์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.2-8.8 มม. และทำจากพลาสติก, พลาสติกผสมซิลิโคน (PMMA) ออกซิเจนซึมผ่านได้น้อย

ประเภทคอนแทคเลนส์


ข้อดีของคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง
  1. ราคาถูกกว่าเลนส์ชนิดนิ่ม
  2. การถอดและใส่ทำได้ง่ายกว่า
  3. ทนทานต่อการเป็นรอยขูดขีด
  4. ให้ภาพคมชัดกว่าเลนส์ชนิดนิ่ม เหมาะสำหรับสายตาเอียง
  5. ดูแลและเก็บรักษาง่าย
  6. มีอายุการใช้งานนานกว่า 5 - 7 ปี


ข้อเสียของคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง
  1. ใช้เวลาปรับตัวนาน
  2. เลนส์มีโอกาสหลุดง่าย อาจแตกหักได้
  3. ถ้าใส่เป็นเวลานานจะทำให้กระจกตาเบี้ยวหรือเกิดการบวมได้
คอนแทคเลนส์ชนิดที่สอง Soft Contact Lens คือ คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม มีความยืดหยุ่น ขนาดใหญ่กว่าตาดำ วางอยู่บนกระจกตาดำและบางส่วนของตาขาวประมาณ 2 มม. มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 12.5-16 มม.
และทำจากซิลิโคน (HEMA) ออกซิเจนสามารถซึมผ่านได้ดี

ข้อดีของคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม
  1. ใส่ได้สบายตั้งแต่ระยะแรก ใช้เวลาในการปรับตาสั้น
  2. เลนส์ไม่หลุดง่ายใส่เล่นกีฬาได้ดี
  3. สามารถใส่เลนส์ได้นานหรือใส่ติดต่อกันได้ 2-3 วัน
  4. ใส่เพื่อเสริมสร้างความสวยงามได้

ข้อเสียของคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม
  1. ราคาแพง
  2. ดูแลรักษาความสะอาดยาก สกปรกง่าย ต้องล้างทำความสะอาดทุกวัน
  3. อายุการใช้งานสั้นประมาณ 1 ปี

Loading

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More