8 เม.ย. 2551

[ข่าว] สธ.ประกาศคุมเข้มคอนแทคเลนส์-ป้องดวงตาผู้ใช้ได้รับอันตราย


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 พฤษาภคม 2552 เพื่อควบคุมการผลิตและนำเข้า เลนส์สัมผัสหรือคอนแทคเลนส์ให้เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องได้รับใบอนุญาตและ มีคุณภาพมาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดเพื่อประโยชน์ในการ คุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคในการใช้คอนแทคเลนส์สัมผัสทุกประเภทและ เพื่อเป็นการป้องกันการนำเลนส์ไปใช้ในทางที่ผิด

สาระสำคัญของประกาศมีดังนี้
1.ให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเลนส์สัมผัสจัดให้มีฉลากเลนส์สัมผัสที่ขาย หรือมีไว้เพื่อขายแสดงข้อความไว้บนภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุอย่างชัดเจน เป็นข้อความภาษาไทย และจะมีภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยด้วยก็ได้ แต่ข้อความภาษาอื่นต้องมีความหมายตรงกับข้อความภาษาไทยโดยอย่างน้อยแสดงราย ละเอียดดังต่อไปนี้
 
(1) ชื่อ ประเภท และชนิดของเลนส์สัมผัส
(2) ชื่อ และสถานที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า แล้วแต่กรณี ในกรณีเป็นผู้นำเข้าให้แสดงชื่อผู้ผลิต เมืองและประเทศผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์นั้นด้วย
(3) จำนวนเลนส์สัมผัสที่บรรจุ
(4) เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต
(5) เดือน ปีที่หมดอายุ
(6) เลขที่ใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์
(7) ประโยชน์ วิธีการใช้ และวิธีการเก็บรักษา
(8) คำแนะนำ ต้องแสดงข้อความว่า “การใช้เลนส์สัมผัสควรได้รับการสั่งใช้และตรวจติดตามทุกปีโดยจักษุแพทย์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์เท่านั้น” แสดงด้วยอักษรสีแดงที่เห็นได้ชัดเจน ขนาดความสูงตัวอักษรไม่น้อยกว่า ๒ มิลลิเมตร
(9) ระยะเวลาในการใช้งาน สำหรับเลนส์สัมผัสที่มีกำหนดระยะเวลาการใช้งาน แสดงด้วยอักษรขนาดที่เห็นได้ชัดเจน ขนาดความสูงตัวอักษรไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร
(10) คำเตือน ต้องแสดงข้อความอย่างน้อยว่า การใช้เลนส์สัมผัสโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ที่ผิดวิธี มีความเสี่ยงต่อการอักเสบหรือการติดเชื้อของดวงตา อาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียสายตาอย่างถาวรได้

(11) ข้อห้ามใช้ ต้องแสดงข้อความอย่างน้อย ดังนี้
(ก) ห้ามใส่เลนส์สัมผัสนานเกินระยะเวลาใช้งานที่กำหนด
(ข) ห้ามใช้เลนส์สัมผัสร่วมกับบุคคลอื่น
(ค) ห้ามใส่เลนส์สัมผัสทุกชนิดเวลานอน ถึงแม้จะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม ควรถอดล้างทำความสะอาดทุกวัน

(12) ข้อควรระวังในการใช้ ต้องแสดงข้อความอย่างน้อยดังนี้
(ก) ผู้ที่มีสภาวะของดวงตาผิดปกติ เช่น ต้อเนื้อ ต้อลม ตาแดง กระจกตาไวต่อความรู้สึกลดลง ตาแห้ง กระพริบตาไม่เต็มที่ ไม่ควรใช้เลนส์สัมผัส
(ข) ควรใช้น้ำยาล้างเลนส์สัมผัสที่ใหม่ และเปลี่ยนน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับเลนส์สัมผัสทุกครั้งที่แช่เลนส์สัมผัส และแม้ไม่ใส่เลนส์สัมผัส ควรเปลี่ยนน้ำยาใหม่ในตลับทุกวัน
(ค) ควรเปลี่ยนตลับใส่เลนส์สัมผัสทุกสามเดือน
(ง) ข้อความ “ไม่ควรใส่เลนส์สัมผัสขณะว่ายน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตาได้”หรือ “ห้ามใส่เลนส์สัมผัสขณะว่ายน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตาได้” แล้วแต่กรณี ตามที่ผู้ผลิตกำหนด
(จ) ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสเลนส์
(ฉ) หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือปวดตาเป็นอย่างมากร่วมกับอาการแพ้แสงตามัวลง น้ำตาไหลมาก ตาแดง ให้หยุดใช้เลนส์สัมผัสทันที และรีบพบจักษุแพทย์โดยเร็ว

2.ให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเลนส์สัมผัสต้องจัดให้มีเอกสารกำกับเครื่อง มือแพทย์ของเลนส์สัมผัสที่ขายหรือมีไว้เพื่อขายเป็นข้อความภาษาไทย และจะมีภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยก็ได้ แต่ข้อความภาษาอื่นต้องมีความหมายตรงกับข้อความภาษาไทย
3.ให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเลนส์สัมผัส จัดทำรายงานการขายเลนส์สัมผัสตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด

ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552)



เนื่องจากทางสำนักงานคณะกรรมอาหารและยาสั่งคุมเข้มสินค้าประเภทนี้มากขึ้น เพราะหากนำมาใช้อย่างไม่ถูกต้องเหมาะสมอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้ ดังนั้นทางอย. จึงเห็นควรกำหนดให้มีการควบคุมเลนส์สัมผัสทุกประเภทเป็นเครื่องมือแพทย์ควบคุมอย่างเข้มงวดขึ้น

ซึ่งในการโฆษณา"บิ๊กอาย-คอนแทคเลนส์" ถือเป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มเครื่องมือแพทย์ ดังนั้นการโฆษณานั้นต้องมีเลขที่ใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์ ถึงจะสามารถทำการโฆษณาได้ ฉะนั้นก่อนตัดสินใจซื้อ ควรตรวจสอบใบอนุญาต และรายละเอียดของร้านค้าให้ดีเสียก่อน

ข้อมูลจาก : http://www.matichon.co.th/

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

Loading

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More