แฟชั่น บิ๊กอาย

บิ๊กอาย กับ แฟชั่นในปัจจุบัน

เลนส์ตาโต เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดตาโต หรือที่วัยรุ่นเรียกกันว่า “บิ๊กอาย”จะเหมือนกับคอนแทคเลนส์แฟชั่นสมัยก่อนที่มีสีสันให้เลือกมากมาย แต่ที่แตกต่างคือ เลนส์สีบริเวณตรงกลางดวงตาจะเป็นเลนส์ใสปกติแต่บริเวณขอบเลนส์จะมีสีดำ ทำให้ขอบตาคุณดูชัดมากขึ้น มีราคาตั้งแต่ 450 – 2,000 บาท

ใส่บิ๊กอายตาติดเชื้อ

บิ๊กอายทำตาบอด ติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์เตือนวัยโจ๋

แพทย์เตือนอันตรายจากคอนแทกท์เลนส์ "บิ๊กอาย" หลังมีผู้ป่วยติดเชื้อสูโดโมแนสที่ตา ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาตัวแล้ว 4 ราย จักษุแพทย์ ระบุ เป็นแบคทีเรียร้ายแรงลามกินตาดำได้ภายใน 2 วัน รักษาไม่ทันถึงขั้นตาบอด ผู้ป่วยรับหาซื้อง่ายแม้กระทั่งตามตลาดนัด จี้ภาครัฐออกมาเข้มงวด เพราะจัดอยู่ในกลุ่ม เครื่องมือแพทย์ ต้องได้รับอนุญาตจาก อย.

เลดี้ กาก้า Lady Gaga ใส่บิ๊กอาย

เลดี้กาก้า นำเทรนบิ๊กอาย อเมริกาเตือน Big Eye เป็นอันตราย ผิดกฏหมายในอเมริกา

นับตั้งแต่กระแสความโด่งดังของ Music Video "Bad Romance" ของนักร้องสาวชาวอังกฤษ Lady Gaga ทำให้วัยรุ่นอเมริกันเริ่มนิยมใส่ Contact Lenses ที่เรียกว่า "Big Eye" กันเป็นจำนวนมาก จนหลายฝ่ายต้องออกมาเตือนในการใช้และการเลือกซื้อ เพราะวัยรุ่นจำนวนมากนิยมสั่งซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต จากร้านค้าออนไลน์ในแถบเอเชีย...

บิ๊กอาย คอนแทคเลนส์ปลอม

อันตรายจากการใช้คอนแทคเลนส์แฟชั่น "บิ๊กอาย"

กระแสคอนแทคเลนส์แฟชั่นได้แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณต้นปี 2549 ที่ผ่านมา โดยวัยรุ่นไทยนิยมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพื่อให้ตา กลมโตเลียนแบบดาราเกาหลี และญี่ปุ่น คอนแทคเลนส์แฟชั่นดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีในนาม บิ๊กอายส์ หรือ คอนแทคเลนส์ตาโต ราคาก็มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน ระยะเวลาการใช้งานก็มีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ 1 เดือนไปจนถึง 1 ปี

14 พ.ค. 2553

ข้อเสีย - ข้อแนะนำในการใช้คอนแทคเลนส์

ข้อเสีย ของการใช้ คอนแทคเลนส์
  1. ใส่นานๆจะระคายเคืองกับดวงตา ทำให้ชอบเผลอ ขยี้ตา หลุดบ่อยมากตอนใส่แรกๆ
  2. ใส่แล้วดวงตา โดนลมนานๆก็ไม่ได้ ดวงตาจะแห้ง
  3. เปลืองถ้าเทียบกับแว่นในระยะยาว เพราะต้องมีน้ำยาล้างและอื่นๆอีกมาก

ต่อไปเป็นข้อแนะนำในการใช้คอนแทคเลนส์
  1. ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ในที่ๆมีลมแรงๆโดยไม่มีแว่นกันลม เพราะ ฝุ่นจะเข้าตา และทำให้ระคายเคือง
  2. ถ้ามีโอกาสถอดคอนแทคเลนส์บ่อยเท่าไร ยิ่งดี เพื่อให้ดวงตาได้พัก
  3. ไม่ควรใส่ทั้งวันและทั้งคืน หรือใส่นอน เพราะจะทำให้ดวงตาคุณแย่ลง เพราะเรื่องเชื้อโรค
  4. ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องเงินและต้องการรักษาสุขภาพดวงตา ควรซื้อแบบรายวัน เพื่อลดสิ่งสะสมของคอนแทคเลนส์ เช่นฝุ่น หรือพวกโปรตีน
  5. มั่นล้างทำความสะอาด คอนแทคเลนส์ของท่านอย่างสมำเสมอ บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้
  6. น้ำยายี้ห้อไหนที่ใช้แล้วรู้สึกระคายเคืองให้ทำการเปลี่ยนยี้ห้อทันที
  7. อย่าเผลอใส่คอนแทคเลนส์ลงว่ายน้ำโดยเด็ดขาด
  8. ถ้าคอนแทคเลนส์หลุด ห้ามใช้น้ำประปาในการใส่คอนแทคเลนส์โดยเด็ดขาด เพราะ เมื่อนำมาใส่จะทำให้ตาแสบตาได้

เคล็บไม่ลับสำหรับการดูแลคอนแทคเลนส์ที่รัก

การใช้คอนแทคเลนส์นั้น ไม่ได้ยากเย็นและอันตรายอย่างที่คิดกัน แต่ถ้าจะไม่พูดถึงการดูแลรักษาคอนแทคเลนส์บ้าง มันก็จะดูไม่สมบูรณ์อย่างไรไม่รู้ เพราะคอนแทคเลนส์นั้น ถึงแม้จะเป็นแบบรายเดือนคือมีอายุแค่ 30 วัน แล้วก็จะต้องทิ้งไป แต่การดูแล ก็เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้อย่างเด็ดขาดเลยจริง ๆ เนื่องจากอุปกรณ์ชิ้นนี้ ต้องสัมผัสกับอวัยวะ ที่สำคัญและบอบบางที่สุดของเรา ในการทำหน้าที่ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการมองเห็นได้แจ่มชัดขึ้น สำหรับสาวๆที่มีปัญหาทางสายตา ฉะนั้นถ้าเราไม่เอาใจใส่มันด ดีๆ แล้วละก็ ดวงตาอันล้ำค่าของสาวๆ ก็จะประสบเคราะห์ซ้ำกรรมซัดได้ ซึ่งคราวนี้ นอกจากจะมองไม่ชัดแล้ว อาจจะลุกลามไปยังปัญหาดวงตาอื่นๆอีกได้

เพื่อความปลอดภัย และความสบายตา การดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ จึงป็นเรื่องสำคัญมาก ทุกครั้งที่ถอดคอนแทคเลนส์ ควรทำความสะอาด ล้างและแช่ เพื่อฆ่าเชื้อโรค ด้วยผลิตภัณฑ์ดูแลรักษา คอนแทคเลนส์โดยเฉพาะ เช่น น้ำยาดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ ReNu MultiPlus ™

การเลือกใช้คอนแทคเลนส์ ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับบุคลิกภาพและความต้องการ

การเลือกใช้คอนแทคเลนส์ ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับตนเองนั้น เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากคอนแทคเลนส์ มีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น คอนแทคเลนส์รายปี คอนแทคเลนส์รายวัน คอนแทคเลนส์รายเดือน หรือ คอนแทคเลนส์รายสัปดาห์ อีกทั้งยังมีรายละเอียดอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของ วัถุดิบที่ใช้ผลิต เรื่องของ ความโค้ง และขนาดเลนส์ โดยในที่นี้เราจะพูดถึงเฉพาะ Soft Contactlens เนื่องจาก ปัจจุบัน เลนส์ Hard, RGP ไม่เป็นที่นิยมแล้ว

คอนแทคเลนส์ หรือ เลนส์สัมผัส

เลนส์สัมผัสหรือที่เราเรียกกันทับศัพท์ง่ายๆ ว่า คอนแทคเลนส์นั้น เป็นวิวัฒนาการทางจักษุวิทยาที่นำมาใช้แทนแว่นตา ช่วยแก้ปัญหาและขจัดความรำคาญของการใช้แว่นตา เสริมสร้างบุคลิกให้ผู้ที่มีสายตาผิดปกติให้มีความสวยงามเหมือนธรรมชาติ ไม่มีร่องรอยของแว่นตา และทำให้การมองเห็นภาพได้ชัดเจน เสมือนตาปกติโดยไม่ต้องใช้แว่นตา บางครั้งทำให้สะดวกและปลอดภัยในขณะที่เล่นกีฬาแทนการใส่แว่นตา

เลนส์สัมผัส แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
  1. คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง หรือ Hard Contact Lens เป็นเลนส์ที่ทำด้วยพลาสติกแข็งน้ำซึมผ่านไม่ได้เลย
  2. เลนส์ชนิดนิ่ม เป็นเลนส์ที่ทำด้วยพลาสติกที่สามารถอมน้ำได้ ตั้งแต่ 35 ถึง 65 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้นิ่มมีรูเล็กๆ และน้ำซึมผ่านได้ ช่วยให้ออกซิเจนสามารถละลายผ่านเข้าไปถึงกระจกตาได้สะดวกขึ้น แต่ก็มีผลเลียที่เลนส์ชนิดนี้ จะจับเอาโปรตีน เยื่อเมือก เกลือแร่ และอนุภาคต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำตาเข้าไว้ในตัวเลนส์ ทำให้เลนส์สกปรกง่าย เป็นฝ้า ชำรุดเกิดอาการแพ้และระคายเคืองตาได้ จึงต้องคอยระวังรักษาอย่างดี หมั่นทำความสะอาดโดยการใช้ระบบความร้อนทำความสะอาด หรือใช้น้ำยาแช่ทำความสะอาดแทนความร้อน

การเลือกซื้อคอนแทคเลนส์
คนเราแต่ละคน แตกต่างกัน บางคน ตาโต บางคนตาเล็ก ตาโปน ตาลึก ไม่เหมือนกัน คอนแทคเลนส์ที่ดีควร พอดีกับตาคนคนนั้น ทั้ง สายตา และกระชับตาดี

เลนส์ที่กำลังสายตาพอดี จะทำให้ท่านเห็นได้ชัดเจน สบายตา ไม่ต้องเพ่ง แต่ถ้าใส่เลนส์แล้วรู้สึกว่า เดี๋ยวชัดเดี๋ยวไม่ชัด แสดงว่า เลนส์ชิ้นนั้นไม่กระชับพอดีตา ลองทดลองด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ถ้าท่านใส่เลนส์อยู่ให้หลับตาลง เมื่อลืมตาขึ้น ถ้าภาพมัวแล้วค่อยๆ ชัดขึ้น ก็แสดงว่าเลนส์ที่ใส่อยู่นั้น หลวมเกินไป แต่ในทางกลับกัน ถ้าลืมตาขึ้น ภาพคมชัด แล้วค่อยๆ มัวลง ต้องกระพริบตาบ่อยๆ ถึงชัดขึ้น มักเกิดจากเลนส์คับเกินไป อาจต้องใช้เลนส์ที่หลวมกว่านั้น โดยส่วนมากผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าใจว่า Contact Lens เป็น Free Size


การเริ่มต้นใช้เลนส์อย่างถูกวิธี
  1. ควรบอกจักษุแพทย์ เป็นผู้เลือกเลนส์ที่น่าจะเหมาะสมกับคุณ
  2. บอกความต้องการของคุณให้ชัดเจนว่า ต้องการใช้เลนส์อะไร เอาเลนส์นิ่มหรือแข็ง อยากให้ชัดมากๆ หรือเอาสบายๆ เข้าไว้
  3. อยากใส่เลนส์ทุกวันหรือเฉพาะวัน
  4. เอาแบบเปลี่ยนรายวัน หรือเอาแบบประหยัด
  5. ถ้าคุณเป็นคนแพ้ง่าย ก็บอกไปด้วย
  6. งานอาชีพของคุณ ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ เป็นพนักงานบนเครื่องบิน เป็นศัลยแพทย์ มีข้อพิจารณา ข้อระวังในการ เลือกเลนส์เหมือนกัน

คุณหมอจะให้คุณลองคอนแทคเลนส์ที่เลือกไว้ ประเมินผลเบื้องต้นถ้าพอดี ก็ให้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันสัก 2-3 วัน แล้วนัดกลับมาตรวจอีกครั้งให้แน่ใจว่าเลนส์พอดี แต่พอไปใส่ทำงาน เมื่อตาแห้งเลนส์หลวมลง เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยคุณควรขอใบ Prescription จากคุณหมอ เพื่อสั่งซื้อเลนส์ในคราวต่อๆ ไป ซึ่งอาจซื้อตามร้านค้า หรือเดี๋ยวนี้สั้งทำทาง Internet ก็ได้


เมื่อได้เลนส์มา ควรตรวจสอบที่ข้างกล่องว่า ตรงกับใน Prescrition หรือไม่ ซึ่งประกอบด้วย
  • Lens Power สั้นยาว เอียง เท่าไร
  • Base Curve ซึ่งย่อว่า B.C. หมายถึง ความคับหลวมของเลนส์
  • Diameter หรืเส้นผ่านศูนย์กลาง

เลนส์ต่างยี่ห้อที่กำลังเท่ากัน มี Base curve เท่ากัน อาจจะใส่ไม่พอดีเหมือนเดิม ถ้าใส่เลนส์อะไรพอดีแล้ว ควรใช้แบบเดิมตลอด ไม่ควรเปลี่ยนบ่อยๆ หลายคนใช้คอนแทคเลนส์ไปเรื่อยๆ โดยไม่เคยมาพบแพทย์เลย ลองคิดดูนะคะ การใช้คอนแทคเลนส์ต้องเสียเงินอย่างต่ำ ปีละ 4- 5 พันบาทอยู่แล้ว แถมการใช้ที่ไม่ถูกต้องยังเสี่ยงกับสุขภาพตาได้ การให้คุณหมอช่วยเลือกเลนส์ให้ คุณจะมั่นใจว่า คุณจะใช้เงินของคุณอย่างคุ้มค่า ได้ดวงตาที่มีสุขภาพ


ข้อสำคัญ
  1. ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนใส่หรือถอดเลนส์
  2. อย่าใช้ยาหยอดตาทุกชนิดขณะใส่เลนส์
  3. ควรถอดเลนส์ก่อนนอนทุกคืน (อันนี้สำคัญมาก)
  4. อย่าใส่เลนส์ขณะตาอักเสบ หรือถ้ามีอาการผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด

ระวังคอนแทคเลนส์ปลอม

วัยรุ่นกับแฟชั่น นับว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาโดยตลอด มีการหมุนเวียนเปลี่ยนกระแสนิยมในเรื่องการแต่งกายไปเรื่อย ๆ และที่เริ่มได้รับความนิยมล่าสุดก็คือ คอนแทคเลนส์ตาโต หรือที่เรียกว่า “บิ๊กอาย” ที่ทำให้ตาโตเหมือนสาวเกาหลี ญี่ปุ่น ประกอบกับมีให้เลือกหลากหลายสี เช่น สีฟ้า สีเขียว สีน้ำตาล หรือมีลายประกายสีม่วง สีเทา ซึ่งจะทำให้ดวงตาดูแปลกไปจากเดิม

คอนแทคเลนส์เหล่านี้ มิได้มีขายแต่ในร้านขายแว่นตาหรือร้านขายยาเท่านั้น เพราะตามแผงลอย แผงแบกะดินก็มีวางขายเช่นกัน นอกจากนั้นยังเสนอขายในราคาที่เย้ายวนให้ตัดสินใจซื้อ เพราะมีราคาที่ถูกกว่าในร้าน จึงเป็นเหตุให้มีของเลียนแบบหรือคอนแทคเลนส์ปลอมเกิดขึ้น

สิ่งที่น่ากังวลก็คือความปลอดภัยต่อการนำไปใช้ เพราะหากเป็นคอนแทคเลนส์ปลอม หรือของเลียนแบบ อาจมีคุณภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน จึงเป็นอันตรายต่อลูกตาและเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากโรคต่าง ๆ จนอาจถึงขั้นทำให้ตาบอดได้

ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับแหล่ง ร้านค้าที่จำหน่าย โดยเลือกซื้อจากร้านที่มีความน่าเชื่อถือและไว้ใจได้ หรือหมั่นตรวจสอบทุกครั้งว่าคอนแทคเลนส์ที่เลือกซื้อมีการบรรจุอย่างเรียบ ร้อยและมีฉลากกำกับที่ครบถ้วนถูกต้อง แล้วจึงค่อยตัดสินใจวื้อ อย่าให้เป็น “คนซื้อสวย คนขายหลอก แต่สุดท้ายกลับแย่”

ความเหมาะสมของบุคคลต่างๆ กับการใช้คอนแทคเลนส์

ผู้ที่เหมาะจะใส่คอนแทคเลนส์
1. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาดังนี้
  • สายตาสั้น
  • สายตายาว
  • สายตาเอียง
  • สายตาคนสูงอายุ
2. ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดต้อกระจกทั้งชนิด ข้างเดียวหรือ 2 ข้าง
3. ผู้ที่มีอาการตาสั่น (nystagmus) และควรแนะนำเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม
4. ผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวเป็นอุปสรรค
5. ผู้ที่มีกระจกตาโค้งมากกว่าปกติ (Keratoconus) เช่น 6.9, 5.4 และกระจกตาบางมาก ควรแนะนำเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง (HCL)
6. ผู้ที่เป็น "TRICHIASIS" คือมีความผิดปกติของขนตาที่งอนเข้าไปแยงกระจกตา เป็นสาเหตุทำให้น้ำตาไหล แก้ไขได้โดยใส่คอนแทคเลนส์ขนิดนิ่ม (SCL)
7.ผู้ที่เป็น "ENTROPION" คือขอบตาเปิดเข้าด้านในมากกว่าปกติ แก้ไขได้โดยใส่คอนแทคเลนส์ขนิดนิ่ม (SCL)

ผู้ที่ไม่เหมาะจะใส่คอนแทคเลนส์
1. มีสุขภาพตาไม่ดีเช่น เป็นต้อลม, ต้อเนื้อ, ตาแดง, กระจกตาไม่รับรู้ความรู้สึก, ตาแห้ง, ตาบวมและผู้ที่กระพริบตาครึ่งตา
2. มีโรคประจำตัวบางโรคเช่น
  • โรคเบาหวานมีอาการบวมเป็นแผลถลอก แผลหายช้าและอักเสบง่าย ค่าสายตาไม่คงที
  • โรคไขข้ออักเสบ ทำให้ตาแห้งการทำความสะอาดเลนส์และการใส่ต้องตรวจและติดตามผลบ่อยกว่าปกติ
  • โรคความดันโลหิตสูง มีผลทำให้น้ำในร่างกายไม่คงที่
  • โรคภูมิแพ้ มีโอกาสแพ้เนื้อวัสดุที่ผลิตคอนแทคเลนส์และแพ้น้ำยาได้ จะทำให้มีอาการตาแดง, ตาแห้งและคันตา
  • ตั้งครรภ์ ทุกอย่างในร่างกายจะปรับสภาพใหม่ มีผลทำให้กระจกตาบวม ควรแนะนำให้ใส่หลังคลอดแล้ว 3-4 เดือน
3. ผู้ที่ต้องทานยาบางประเภทเป็นประจำ เช่น
  • ยา ANTIHISTAMINE รักษาโรคภูมิแพ้
  • ยา ANTIDIABETIC รักษาโรคเบาหวาน
  • ทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานหลายปี มีผลทำให้น้ำที่กระจกตามีมากขึ้น 78% จะมีอาการกระจกตาบวม
4. ผู้ที่ทำงานบางประเภทที่ต้องประสบกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นประจำ เช่น
  • มีฝุ่นละอองมาก
  • มีลมแรงพัดผ่านเป็นประจำ
  • มีควันบุหรี่หรือควันพิษ รวมถึงเขม่าต่างๆ
  • มีไอระเหยของสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตราย
5. ผู้ที่อายุไม่เหมาะสม เช่น เด็กเกินไปหรือมีอายุมากเกินไป ไม่สามารถรับผิดชอบตัวเองได้

สิ่งที่ต้องรู้เมื่อจะซื้อ คอนแทคเลนส์

คอนแทคเลนส์ชนิด Disposable หมายถึงเลนส์ที่ใช้แล้วไม่ต้องล้างเลย ใช้แล้วถอดทิ้งเหมือนเราใช้กระดาษทิชชู ส่วน คอนแทคเลนส์ชนิด Planned Replacement หมายถึงเลนส์ที่ใช้แล้วใช้ซ้ำอีกได้ แต่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ มีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้น ทุก 2-4 สัปดาห์

คอนแทคเลนส์ทั้งสองประเภท เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เรื่อยๆ แต่มีความเข้าใจผิดของผู้ใช้อยู่เสมอว่า เลนส์พวกนี้เป็นเลนส์ Free size ดังนั้นเมื่อไปหาซื้อเลนส์ ผู้ใช้มักบอกคนขายแต่เพียงว่า ต้องการ ACUVUE เบอร์ -3.00 หรือ ต้องการ FOCUS เบอร์ -4.75 เท่านั้น และ คนขายก็มักหยิบเลนส์มาให้ได้เสียด้วย ที่จริงแล้ว บนหน้าซองบรรจุเลนส์ คุณจะเห็นว่านอกจากค่ากำลังของเลนส์ หรือ power -3.00 D หรือ -4.75D แล้วยังมีตัวอักษร B.C. 8.8 หรือ B.C. 8.6 กำกับมาด้วย ให้คุณแน่ใจได้เลยว่า นั่นย่อมไม่ได้หมายความว่าเลนส์ชิ้นนั้น ผลิตขึ้นก่อนคริสตกาล แต่มันสำคัญอย่างไรด้วยหรือ หรือฝรั่งทำเกินมา เฉยๆ

ค่า B.C. ย่อมาจาก Base Curve หมายถึงรัศมีความโค้งด้านหลังของเลนส์ชิ้นนั้น ซึ่งเป็นด้านจะต้องสัมผัสกับดวงตาของเรา เลนส์ที่มี B.C. 8.8 มิลลิเมตร หมายถึงเลนส์ชิ้นนั้น แบนกว่าเลนส์ที่มี B.C. 8.4 มิลลิเมตร ซึ่งจะทำให้ เลนส์ 8.4 ติดแน่น บีบรัดดวงตามากกว่าส่วนเลนส์ 8.8 จะรู้สึกหลวมเลื่อนได้มากก

เมื่อคุณซื้อเลนส์ คุณอาจเพิ่มหรือลด กำลังของเลนส์ได้ตามใจชอบ เช่น อยากให้ภาพคมชัดขึ้น อาจลองซื้อเลนส์กำลังสูงขึ้นสัก 0.25 แต่ถ้าใส่แล้วไม่ชอบใจ อยากใส่ให้ภาพนุ่มนวลลงก็อาจซื้อเลนส์อ่อนลง สัก 0.25 ได้ไม่เสียหายอะไรนอกจากรู้สึกมึนๆนิดๆ แต่การเปลี่ยนค่า Base Curve ขอให้เป็นหน้าที่ของจักษุแพทย์นะคะ เพราะการใส่เลนส์คับหรือหลวมเกินไปอาจเป็นอันตรายได้ ควรซื้อเลนส์ Base Curve เดิมเสมอ ห้ามเปลี่ยนเองค่ะ

Loading

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More