แฟชั่น บิ๊กอาย

บิ๊กอาย กับ แฟชั่นในปัจจุบัน

เลนส์ตาโต เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดตาโต หรือที่วัยรุ่นเรียกกันว่า “บิ๊กอาย”จะเหมือนกับคอนแทคเลนส์แฟชั่นสมัยก่อนที่มีสีสันให้เลือกมากมาย แต่ที่แตกต่างคือ เลนส์สีบริเวณตรงกลางดวงตาจะเป็นเลนส์ใสปกติแต่บริเวณขอบเลนส์จะมีสีดำ ทำให้ขอบตาคุณดูชัดมากขึ้น มีราคาตั้งแต่ 450 – 2,000 บาท

ใส่บิ๊กอายตาติดเชื้อ

บิ๊กอายทำตาบอด ติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์เตือนวัยโจ๋

แพทย์เตือนอันตรายจากคอนแทกท์เลนส์ "บิ๊กอาย" หลังมีผู้ป่วยติดเชื้อสูโดโมแนสที่ตา ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาตัวแล้ว 4 ราย จักษุแพทย์ ระบุ เป็นแบคทีเรียร้ายแรงลามกินตาดำได้ภายใน 2 วัน รักษาไม่ทันถึงขั้นตาบอด ผู้ป่วยรับหาซื้อง่ายแม้กระทั่งตามตลาดนัด จี้ภาครัฐออกมาเข้มงวด เพราะจัดอยู่ในกลุ่ม เครื่องมือแพทย์ ต้องได้รับอนุญาตจาก อย.

เลดี้ กาก้า Lady Gaga ใส่บิ๊กอาย

เลดี้กาก้า นำเทรนบิ๊กอาย อเมริกาเตือน Big Eye เป็นอันตราย ผิดกฏหมายในอเมริกา

นับตั้งแต่กระแสความโด่งดังของ Music Video "Bad Romance" ของนักร้องสาวชาวอังกฤษ Lady Gaga ทำให้วัยรุ่นอเมริกันเริ่มนิยมใส่ Contact Lenses ที่เรียกว่า "Big Eye" กันเป็นจำนวนมาก จนหลายฝ่ายต้องออกมาเตือนในการใช้และการเลือกซื้อ เพราะวัยรุ่นจำนวนมากนิยมสั่งซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต จากร้านค้าออนไลน์ในแถบเอเชีย...

บิ๊กอาย คอนแทคเลนส์ปลอม

อันตรายจากการใช้คอนแทคเลนส์แฟชั่น "บิ๊กอาย"

กระแสคอนแทคเลนส์แฟชั่นได้แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณต้นปี 2549 ที่ผ่านมา โดยวัยรุ่นไทยนิยมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพื่อให้ตา กลมโตเลียนแบบดาราเกาหลี และญี่ปุ่น คอนแทคเลนส์แฟชั่นดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีในนาม บิ๊กอายส์ หรือ คอนแทคเลนส์ตาโต ราคาก็มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน ระยะเวลาการใช้งานก็มีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ 1 เดือนไปจนถึง 1 ปี

12 ส.ค. 2552

[ข่าว] จักษุเตือน ใส่ "บิ๊กอาย" พร่ำเพรื่อ ถึงขั้นตาบอด

จักษุแพทย์เตือนการใส่คอนแทคเลนส์พร่ำเพรื่อ ไม่ถูกต้อง เสี่ยงต่อภาวะแพ้คอนแทคเลนส์ บางรายรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้

หลังจากสำรวจย่านสยามสแควร์ที่วัยรุ่นนิยมออกมาท่องเที่ยววันหยุด หรือเรียนพิเศษ หากจอ้งไปที่ดวงตาของเด็กๆเหล่านี้ใน 10 คนจะพบ 1 คนที่มีดวงตาสดใสกลมโตกว่าปกติ จากคอนแทคเลนส์ขอบสีกว้าง ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "บิ๊กอาย" ทำให้ความสวยเด่นของดวงตาชนะความตระหนักถึงอันตรายในความคิดของเด็กๆ

สำหรับข้อแนะนำขั้นต้น คือ ต้องให้แพทย์เลือกคอนแทคเลนส์ให้ในครั้งแรกเพื่อให้พอดีกับดวงตา กล่องใส่ต้องขัดล้างให้สะอาด และเปลี่ยนน้ำยาใหม่ทุกครั้งในการทำความสะอาดและแช่คอนแทคเลนส์ และที่สำคัญไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์เกินวันละ 8 ชั่วโมง เพื่อดูแลดวงตาไม่ให้ขาดออกซิเจนจนเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

ข้อมูลจาก : กรมสุขอนามัย

25 มี.ค. 2552

การเลือกใช่คอนแทคเลนส์

ในการตรวจดูเลนส์ว่าสายตาของเราควรจะใช้แบบไหนเมื่อสวมใส่ จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ข้อคือ
  1. ตำแหน่งของเลนส์สัมผัส (Centering) โดยปกติเลนส์จะต้องวางอยู่ในตำแหน่งตรงกลาง ครอบคลุมกระจกตา และตาดำพอดี
  2. การเคลื่อนที่ของเลนส์บนกระจกตา (Movement) โดยปกติจะต้องเคลื่อนที่ตามการกระพริบตา การเคลื่อนที่นี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากจะทำให้มีการแลกเปลี่ยนของน้ำตาและออกซิเจน

  3. กำลังสายตา (Power) ที่เหมาะสม โดยปกติกำลังของเลนส์สัมผัสจะน้อยกว่า กำลังของแว่นตาที่สวมใส่ปกติอยู่แล้ว
เลนส์ที่เหมาะกับตาต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 3 ข้อ มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น มีอาการเคืองตา ตาแดง หรือมองไม่ชัดเจนได้ เมื่อได้เลนส์ที่เหมาะกับตาแล้ว การใช้แลการดูแลก็เป็นเรื่องสำคัญต้องกล่าวถึง โดยปกติจะไม่แนะนำให้ใส่เลนส์ค้างคืน แม้ว่าจะเป็นชนิดใส่นอนก็ตาม นอกจากจะทำให้อายุใช้งานของเลนส์สั้นกว่าปกติแล้ว อาจจะทำให้เกิดการอักเสบของตาหรือการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติด้วย

12 ก.ย. 2551

[ข่าว] อย. คุม "บิ๊กอายส์" ต้องแพทย์สั่งให้ใช้ เร่งสุ่มตรวจหากพบผลิต-จำหน่าย โทษทั้งจำ-ปรับ

อย.จ่อประกาศคุมคอนแท็กต์เลนส์เป็นเครื่องมือแพทย์ เตรียมจัดทำร่างประกาศ เพิ่มความปลอด ภัยแก่ผู้บริโภคในการใช้ทุกประเภท โดยเฉพาะพวก "บิ๊กอายส์" ชี้อายไลเนอร์ผสมน้ำมันเครื่องอันตราย เสี่ยงเกิดมะเร็ง เร่งส่งเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจทั่วประเทศ หากพบผสมสารต้องห้ามฟันทั้งผู้ผลิต-ผู้จำหน่าย ระบุโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท

เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. น.พ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขา ธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ด้วยปัจจุบันมีกระแสแฟชั่นใส่คอนแท็กต์เลนส์ หรือเลนส์สัมผัส เพื่อความสวยงามที่ทำให้มองเห็นตา กลมโตตามแบบดาราเกาหลีหรือญี่ปุ่นได้ระบาดเข้ามาสู่วัยรุ่นไทยโดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นหญิง โดยเลนส์สัมผัสประเภทนี้เหมือนกับเลนส์สัมผัสแฟชั่นที่มีหลายสีให้เลือก แต่บริเวณตรงกลางมีลักษณะเป็นเลนส์ใสและบริเวณขอบเลนส์มีสีดำหรือสีเข้มต่างๆ ที่จะทำให้มองเห็นว่าผู้ใส่มีตาดำขยายใหญ่และกลมโตกว่าปกติ ซึ่งการใส่เลนส์สัมผัสอย่างไม่ถูกวิธีนั้นอาจมีการแพ้ ติดเชื้อ กระจกตาเป็นแผล อาจทำให้ตาบอดได้

12 ก.ค. 2551

[ข่าว] เตือนวัยรุ่นใส่บิ๊กอายระวังติดเชื้อตาบอดใน 2 วัน!!

หมอออกโรงเตือนวัยรุ่นแห่ตามแฟชั่นเกาหลีใส่ “บิ๊ก อายส์” หากสกปรกอาจทำให้ดวงตาติดเชื้อ ลุกลามถึงขั้นตาบอดได้ภายใน 2 วัน

นพ.ปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงแฟชั่นเกาหลีที่วัยรุ่นนิยมใส่คอนแทกต์เลนส์ตาโต หรือบิ๊กอายส์ ที่มีหลายสี หลายขนาด เพื่อเพิ่มขนาดดวงตา ทำให้ตาหวาน ว่า เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะการนำสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในดวงตา ถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตราย เนื่องจากดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญที่บอบบางที่สุด หากเกิดปัญหาขึ้นกับดวงตาและไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง อาจถึงขั้นตาบอดได้ จึงอยากให้วัยรุ่นตามกระแสแฟชั่น อย่างมีสติ รู้จักระมัดระวัง และชั่งน้ำหนักผลดีผลเสียที่จะตามมาด้วย

12 เม.ย. 2551

ตาโตสวย ด้วย บิ๊กอายส์ อย่างถูกวิธี

คำเตือน-คำแนะนำจากแพทย์

รศ.นพ.ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์ ประธานฝ่ายวิชาการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย และอาจารย์ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คอนแทกต์เลนส์ตาโต หรือ บิ๊กอายส์ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มความสวยงามแก่ดวงตา ทำให้ตาโตขึ้น ซึ่งบิ๊กอายส์จะมีเลนส์ขนาด 13.5-14.0 มิลลิเมตร ในขณะที่ตาดำคนปกติจะมีขนาด 10.5 มิลลิเมตร ซึ่งปกติตาของคนจะประกอบด้วยกระจกตา (Cornea) มีลักษณะใสเหมือนกระจกไม่มีสี แต่สีจากม่านตา (iris) ของคนเอเชียจะมีม่านตาสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ทำให้เห็นเป็นตาดำ

"บิ๊กอายส์” แฟชั่น (ต้องระวัง) ของคนอยาก “ตาโต”

ด้วยความคิดที่ว่า สาว “ตาเล็ก” หรือ “ตาชั้นเดียว” ไม่สวย ไม่มีเสน่ห์ ทำให้บรรดาสาววัยรุ่นชาวเอเชียจำนวนไม่น้อยพยายามดิ้นรนที่จะเพิ่มขนาดของดวงตาให้ใหญ่ขึ้น เช่น การผ่าตัดทำตาสองชั้น เป็นต้น ซึ่งล่าสุด ก็มาถึงคิวของนวัตกรรมใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสาวๆ ชาวญี่ปุ่นและเกาหลี นั่นก็คือ “คอนแทกต์เลนส์ตาโต” หรือที่รู้จักกันในชื่อของ “บิ๊กอายส์
และแน่นอนว่า ขณะนี้ได้แพร่สะพัดมาสู่สาวตาเล็กชาวไทยไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุผลเพื่อเพิ่มขนาดของดวงตาและทำให้ตาหวาน ที่น่าตกใจก็คือ ไม่ใช่แค่เพียงสาวๆ เท่านั้น หากยังลามไปถึงผู้ชายและบรรดาเพศที่ 3 ทั้งหลายอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การใส่บิ๊กอายส์ก็จะใช่ว่าจะปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะล่าสุดเพิ่งมีคำเตือนจากกระทรวงสาธารณสุขไทย ว่า การใส่บิ๊กอายส์นั้น เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะการนำสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในดวงตา ถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตราย เนื่องจากดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญที่บอบบางที่สุด หากเกิดปัญหาขึ้นกับดวงตาและไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง อาจถึงขั้นตาบอดได้

8 เม.ย. 2551

[ข่าว] สธ.ประกาศคุมเข้มคอนแทคเลนส์-ป้องดวงตาผู้ใช้ได้รับอันตราย


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 พฤษาภคม 2552 เพื่อควบคุมการผลิตและนำเข้า เลนส์สัมผัสหรือคอนแทคเลนส์ให้เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องได้รับใบอนุญาตและ มีคุณภาพมาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดเพื่อประโยชน์ในการ คุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคในการใช้คอนแทคเลนส์สัมผัสทุกประเภทและ เพื่อเป็นการป้องกันการนำเลนส์ไปใช้ในทางที่ผิด

สาระสำคัญของประกาศมีดังนี้
1.ให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเลนส์สัมผัสจัดให้มีฉลากเลนส์สัมผัสที่ขาย หรือมีไว้เพื่อขายแสดงข้อความไว้บนภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุอย่างชัดเจน เป็นข้อความภาษาไทย และจะมีภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยด้วยก็ได้ แต่ข้อความภาษาอื่นต้องมีความหมายตรงกับข้อความภาษาไทยโดยอย่างน้อยแสดงราย ละเอียดดังต่อไปนี้
 
(1) ชื่อ ประเภท และชนิดของเลนส์สัมผัส
(2) ชื่อ และสถานที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า แล้วแต่กรณี ในกรณีเป็นผู้นำเข้าให้แสดงชื่อผู้ผลิต เมืองและประเทศผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์นั้นด้วย
(3) จำนวนเลนส์สัมผัสที่บรรจุ
(4) เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต
(5) เดือน ปีที่หมดอายุ
(6) เลขที่ใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์
(7) ประโยชน์ วิธีการใช้ และวิธีการเก็บรักษา
(8) คำแนะนำ ต้องแสดงข้อความว่า “การใช้เลนส์สัมผัสควรได้รับการสั่งใช้และตรวจติดตามทุกปีโดยจักษุแพทย์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์เท่านั้น” แสดงด้วยอักษรสีแดงที่เห็นได้ชัดเจน ขนาดความสูงตัวอักษรไม่น้อยกว่า ๒ มิลลิเมตร
(9) ระยะเวลาในการใช้งาน สำหรับเลนส์สัมผัสที่มีกำหนดระยะเวลาการใช้งาน แสดงด้วยอักษรขนาดที่เห็นได้ชัดเจน ขนาดความสูงตัวอักษรไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร
(10) คำเตือน ต้องแสดงข้อความอย่างน้อยว่า การใช้เลนส์สัมผัสโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ที่ผิดวิธี มีความเสี่ยงต่อการอักเสบหรือการติดเชื้อของดวงตา อาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียสายตาอย่างถาวรได้

(11) ข้อห้ามใช้ ต้องแสดงข้อความอย่างน้อย ดังนี้
(ก) ห้ามใส่เลนส์สัมผัสนานเกินระยะเวลาใช้งานที่กำหนด
(ข) ห้ามใช้เลนส์สัมผัสร่วมกับบุคคลอื่น
(ค) ห้ามใส่เลนส์สัมผัสทุกชนิดเวลานอน ถึงแม้จะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม ควรถอดล้างทำความสะอาดทุกวัน

(12) ข้อควรระวังในการใช้ ต้องแสดงข้อความอย่างน้อยดังนี้
(ก) ผู้ที่มีสภาวะของดวงตาผิดปกติ เช่น ต้อเนื้อ ต้อลม ตาแดง กระจกตาไวต่อความรู้สึกลดลง ตาแห้ง กระพริบตาไม่เต็มที่ ไม่ควรใช้เลนส์สัมผัส
(ข) ควรใช้น้ำยาล้างเลนส์สัมผัสที่ใหม่ และเปลี่ยนน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับเลนส์สัมผัสทุกครั้งที่แช่เลนส์สัมผัส และแม้ไม่ใส่เลนส์สัมผัส ควรเปลี่ยนน้ำยาใหม่ในตลับทุกวัน
(ค) ควรเปลี่ยนตลับใส่เลนส์สัมผัสทุกสามเดือน
(ง) ข้อความ “ไม่ควรใส่เลนส์สัมผัสขณะว่ายน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตาได้”หรือ “ห้ามใส่เลนส์สัมผัสขณะว่ายน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตาได้” แล้วแต่กรณี ตามที่ผู้ผลิตกำหนด
(จ) ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสเลนส์
(ฉ) หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือปวดตาเป็นอย่างมากร่วมกับอาการแพ้แสงตามัวลง น้ำตาไหลมาก ตาแดง ให้หยุดใช้เลนส์สัมผัสทันที และรีบพบจักษุแพทย์โดยเร็ว

2.ให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเลนส์สัมผัสต้องจัดให้มีเอกสารกำกับเครื่อง มือแพทย์ของเลนส์สัมผัสที่ขายหรือมีไว้เพื่อขายเป็นข้อความภาษาไทย และจะมีภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยก็ได้ แต่ข้อความภาษาอื่นต้องมีความหมายตรงกับข้อความภาษาไทย
3.ให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเลนส์สัมผัส จัดทำรายงานการขายเลนส์สัมผัสตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด

ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552)



เนื่องจากทางสำนักงานคณะกรรมอาหารและยาสั่งคุมเข้มสินค้าประเภทนี้มากขึ้น เพราะหากนำมาใช้อย่างไม่ถูกต้องเหมาะสมอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้ ดังนั้นทางอย. จึงเห็นควรกำหนดให้มีการควบคุมเลนส์สัมผัสทุกประเภทเป็นเครื่องมือแพทย์ควบคุมอย่างเข้มงวดขึ้น

ซึ่งในการโฆษณา"บิ๊กอาย-คอนแทคเลนส์" ถือเป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มเครื่องมือแพทย์ ดังนั้นการโฆษณานั้นต้องมีเลขที่ใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์ ถึงจะสามารถทำการโฆษณาได้ ฉะนั้นก่อนตัดสินใจซื้อ ควรตรวจสอบใบอนุญาต และรายละเอียดของร้านค้าให้ดีเสียก่อน

ข้อมูลจาก : http://www.matichon.co.th/

Loading

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More